26 ธ.ค. 2553

Web นี้ถูกปิดกั้นนานแล้ว!

ขออภัยที่เราไม่ค่อยได้เขียนเพิ่มเติมใน web นี้    เพราะเราถูกรัฐทหารอภิสิทธิ์ปิดกั้น    ผู้รักประชาธิปไตยทุกท่านที่เข้ามาใน web นี้ได้    ขอให้เข้าไปที่ web ใหม่ดังนี้ http://mcfah.wordpress.com ขอบคุณครับ

15 พ.ย. 2553

ภาพแทนคำบรรยาย


ตุลาการกับมโนสำนึกประชาธิปไตย

13 พ.ย.53
‘คณะนิติราษฎร์’ จัดอภิปรายเรื่อง “ตุลาการ-มโนธรรมสำนึก-ประชาธิปไตย” ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยมีผู้ร่วมอภิปรายได้แก่ พนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ. สถิตย์ ไพเราะผู้พิพากษาอาวุโสจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพงศ์เทพเทพกาญจนาอดีตอาจารย์ ผู้บรรยายวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมายวรเจตน์ภาคีรัตน์อาจารย์คณะนิติศาสตร์มธ สถิตย์ ไพเราะ ผู้พิพากษาอาวุโส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตอาจารย์ผู้บรรยายวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมาย  
วรเจตน์’ฟัน ธงตุลาการภิวัตน์ผิดทาง ถึงเวลา  ปฏิรูปทุกศาลให้ยึดโยงประชาชน สร้างระบบเปิดตรวจสอบได้ ‘พนัส ทัศ นียานนท์’ เรียกร้องตุลาการเป็นแนวหน้าปชต.เหมือนอังกฤษ’สถิตย์ ไพเราะ’ นอนยันไม่มีทางเป็นไปได้ ชี้คลิปฉาวศาลรธน. ถ้าจริงตุลาการผิดกม. อาญาโทษสูง 20 ปี ถ้าจริงตุลาการผิดกม.อาญาโทษสูง 20 ปี
วรเจตน์ กล่าวว่า หลักประชาธิปไตยอันหนึ่งคือ ผู้ปกครองปกครองโดยมีระยะเวลาจำกัด มีแต่ฝ่ายตุลาการเท่านั้นที่ไม่มีวาระในการทำงาน แม้เข้าใจได้โดยสภาพของงาน แต่ต้องไม่ละเลยว่าตัวเองเชื่อมโยงกับประชาชน ไม่ต้องกลัวว่าการยึดโยงนี้จะกระทบต่อความอิสระ เนื่องจากความเป็นอิสระของตุลาการนั้นหมายถึง 1.เป็นอิสระในทางเนื้อหา หมายความว่า พิพากษาคดีไปตามกฎหมาย ความรู้ในวิชาชีพ ไม่รับใบสั่งจากใคร 2. อิสระ ต่ออำนาจนิติบัญญัติบริหารหรือตุลาการด้วยกันเองกรณีหลังหมายความว่าศาลไม่ จำเป็นต้องผูกพันกับคำตัดสินของศาลสูงที่เคยตัดสินแล้วหากไม่เห็นด้วยมี เหตุผลดีกว่าจะกลับคำพิพากษาก็ได้ 3 อิสระต่ออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการด้วยกันเอง กรณีหลังหมายความว่าศาลไม่จำเป็นต้องผูกพันกับคำตัดสินของศาลสูงที่เคย ตัดสินแล้ว หากไม่เห็นด้วย มีเหตุผลดีกว่าจะกลับคำพิพากษาก็ได้ 3. ต้อง เป็นอิสระต่ออิทธิพลในทางสังคมอย่างไรก็ตามหลักนี้ใช้เฉพาะการกระทำการในทาง ตุลาการเท่านั้นถ้าทำงานอย่างอื่นที่ไม่ใช่การตัดสินคดีก็ไม่สามารถอ้างหลัก การนี้มาป้องกันการตรวจสอบได้และไม่ทำให้ผู้พิพากษาพ้นไปจากกฎหมาย ต้องเป็นอิสระต่ออิทธิพลในทางสังคม อย่างไรก็ตาม หลักนี้ใช้เฉพาะการกระทำการในทางตุลาการเท่านั้น ถ้าทำงานอย่างอื่นที่ไม่ใช่การตัดสินคดีก็ไม่สามารถอ้างหลักการนี้มาป้องกัน การตรวจสอบได้ และไม่ทำให้ผู้พิพากษาพ้นไปจากกฎหมาย
พนัส กล่า วว่า มโนสำนึกในทางที่จะเป็นประชาธิปไตยถ้าจะทำให้เกิดขึ้นได้คงต้องมีการปฏิรูป ไม่ใช่ที่ระบบ แต่ปฏิรูปที่คน ทำอย่างไรให้ผู้พิพากษาไทยมีความสำนึกในประชาธิปไตยขณะที่จารีตประเพณีที่ ยึดถือกันมานั้นไม่ต่างจากสมัยอยุธยา ในหมู่ตุลาการคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยอาจไม่ใช่สิ่งที่ได้รับการยอมรับ ชัดเจนเท่าไรนัก แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีตุลาการผู้พิพากษาที่มีสปิริตนี้เลย แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่กล้าแปลกแยกกับสังคมที่แวดล้อม

สถิตย์กล่าว ว่า สำนึกประชาธิปไตยในวงการตุลาการนั้นมีอยู่ในตัวบทกฎหมาย ดังเช่นมาตรา 26 พ.ร.บ.ข้าราชการตุลาการ วรรค 3 ระบุว่าคนที่จะสมัครสอบเป็นผู้พิพากษาจะต้องเป็นผู้เลื่อมใสในการปกครอง ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญโดยบริสุทธิ์ใจ แต่กลับปรากฏตามข่าวว่าประธานศาลกับเลขาฯ ไปประชุมล้มรัฐบาล และสังคมก็ไม่เอาเรื่อง ไม่มีใครออกมารับผิดชอบแถลงข้อเท็จจริง
ในฐานะ ที่เป็นผู้พิพากษามายาวนาน เขายังยืนยันด้วยว่า ผู้พิพากษาไม่มีทางที่จะมาเป็นแถวหน้าในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างที่ พนัสคาดหวัง หลายเรื่องที่มีคนคาดหวังก็ไม่สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติ เช่นกรณีการไม่รับรองความชอบธรรมภายหลังเกิดการรัฐประหาร เพราะกลไกต่างๆ นั้นเคลื่อนไปหมดแล้ว มีรัฐสภา มีกฎหมาย มีการใช้จ่ายงบประมาณไปแล้วจำนวนมาก

พงศ์เทพ กล่าวว่า ความน่าเชื่อถือของศาลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แม้การตัดสินคดีไม่เหมือนกันในแต่ละชั้นเป็นเรื่องปกติ หรือต่อให้ตัดสินไม่ถูก แต่โจทก์หรือจำเลยต่างก็ยอมรับได้ เพราะไม่มีความสงสัยเคลือบแคลงในองค์กรตุลาการ แต่ถ้ามีความเคลือบแคลงเสียแล้ว ต่อให้ตัดสินถูกต้องที่สุดคนก็ยังไม่เชื่อ สถานการณ์หลังยึดอำนาจ มีพฤติการณ์ คำพิพากษาหลายฉบับที่ก่อความเคลือบแคลงใจต่อสาธารณชน ประกอบกับหลายเหตุการณ์ทำให้ความเคลือบแคลงนั้นกลับเป็นความแน่ใจว่าเกิด อะไรขึ้นในวงการตุลาการ
ส่วน กรณีคลิปศาลรัฐธรรมนูญที่เพิ่งเกิดขึ้น พงศ์เทพเห็นว่าหากมีการตัดต่อจริงถือเป็นการจงใจทำลายใส่ความศาลรัฐธรรมนูญ ที่รุนแรงมากต้องดำเนินคดี แต่หากเป็นเรื่องจริง สื่อมวลชนควรไปสัมภาษณ์ตุลาการที่เหลือว่าเห็นควรทำงานร่วมกับคนเหล่านั้น ต่อไปหรือเปล่า ที่ผ่านมาศาลฎีกาเคยพิพากษาคดีครูเอาข้อสอบไปให้เด็กดู ตัดสินให้เจ้าพนักงานต้องโทษจำคุกคนละ 9 ปี คนสนับสนุนโดนคนละ 6 ปี

สรุป ถ้าตุลาการเป็นที่พึ่งประชาชนไม่ได้  หนำซ้ำยังไม่ยอมพัฒนาตนเอง  ก็คงต้องอาศัยประชาชนร่วมมือกันจัดการไช่ไหม?

13 พ.ย. 2553

40 อันดับคนไทยรวยที่สุด


วันพฤหัสบดี ที่ 2 กันยายน 2553

    "ฟอร์บส์" นิตยสารด้านการเงิน และการจัดอันดับชื่อดัง
จัดอันดับบุคคลที่รวย
 
ที่สุดของไทย 40 อันดับประกอบด้วย
    1. นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหารเครือ
เจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) มูลค่ารวมทรัพย์สิน 7,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ กว่า
217,000 ล้านบาท

    2. นายเฉลียว อยู่วิทยา เจ้าของเครื่องดื่มชูกำลังกระทิงแดง หรือ เรดบูล
มูลค่ารวมทรัพย์สิน 4,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ราว 130,000 ล้านบาท

    3. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้ก่อตั้งบริษัทไทยเบฟเวอเรจเจ้าของธุรกิจเหล้า
แม่โขง , เบียร์ช้าง ฯลฯ  มูลค่ารวมทรัพย์สิน 4,150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    4. ครอบครัว "จิราธิวัฒน์" เจ้าของกิจการหลายอย่าง ตั้งแต่ธุรกิจค้าปลีก
เครือข่าย เซ็นทรัล กรุ๊ป มูลค่ารวมทรัพย์สิน 2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    5. นายกฤตย์ รัตนรักษ์ ประธานและซีอีโอของ บริษัท บางกอกบรอดคาสติ้ง
แอนด์ ทีวี (บีบีทีวี) ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์สีช่อง 7 โดยมีทรัพย์สินรวมถึงหุ้นใน
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และปูนซิเมนต์นครหลวง มูลค่ารวมทรัพย์สิน 1,700 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ

    6. นายอาลก โลเฮีย ผู้บริหารบริษัท อินโดรามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน)
และอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี มูลค่า รวมทรัพย์สิน 1,250 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ 

    7. นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี ประธานบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ มูลค่ารวมทรัพย์
สิน 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    8. นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์ เจ้าของกิจการพฤกษาเรียลเอสเตท บริษัท
อสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ อันดับ 2 ของประเทศ มูลค่ารวมทรัพย์สิน 1,150 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ

    9. นายวิชัย มาลีนนท์ เจ้าของกิจการ บีอีซีเวิลด์ และไทยทีวีสี ช่อง 3 มูลค่า
รวมทรัพย์สิน 1,110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    10. นายอิสระ วงศ์กุศลกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทมิตรผล (น้ำตาล
มิตรผล) มูลค่ารวมทรัพย์สิน 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    11. คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล ภรรยานายกำพล วัชรพล เจ้าของหนัง
สือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์หัวสีใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ร่วมมูลค่าทรัพย์
สิน 1,050 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


    12. นายวาณิช ไชยวรรณ และครอบครัว เจ้าของกิจการไทยประกันชีวิต

    13. นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุง
เทพ (BTS)

    14. นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานเครือบริษัท ไทยซัมมิต ผลิตชิ้นส่วน
ยานยนต์ ถือหุ้นส่วนหนึ่งอยู่ใน เนชั่น มัลติมีเดีย

    15. นางสุรางค์ เปรมปรีดิ์ กรรมการผู้จัดการบีบีทีวี (ช่อง7)

    16. นายประยุทธ มหากิจศิริ เจ้าของกิจการเหล็กกล้า ไทยน็อกซ์ สแตนเลส
 และเนสกาแฟ
    17. นายอนันต์ อัศวโภคิน ผู้ก่อตั้งบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮาส์

    18. นายไกรสร ชาญสิริ ประธานและผู้ก่อตั้ง ไทย ยูเนียน ฟรอซเซน กิจการ
ทูน่ากระป๋อง ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก

    19. วิลเลียม อี. ไฮเนคกี้ และครอบครัว เจ้าของกิจการ ไมเนอร์ คอร์ป.,
ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ทำธุรกิจ อาทิ เอสปรี และธุรกิจภัตตาคาร , สปา
โรงแรม มากกว่า 800 แห่งในหลายประเทศ

    20. นายสรรเสริญ จุฬางกูร ผู้ก่อตั้งบริษัท สามมิตรมอเตอร์ ผลิตชิ้นส่วน
ยานยนต์ เครือญาตินางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ

    21. นายบุญชัย เบญจรงคกุล และครอบครัวผู้ก่อตั้ง ดีแทค

    22. คุณหญิงประภา และนายวิทย์ วิริยะประไพกิจ ผู้บริหาร สหวิริยา
สตีล อินดัสตรี้

    23. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทรัพย์สิน 390 ล้านดอลลาร์
สหรัฐ

    24.น.ส. นิชิต้า ชาห์ สาวโสด เจ้าของกิจการพรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน)
ที่สืบทอดจากบิดา

    25. นายวรวิทย์ วีรบวรพงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามแก๊ส
แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด(มหาชน)

    26. นายจำรูญ ชินธรรมมิตร์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท น้ำตาลขอน
แก่น จำกัด (มหาชน)

    27. น.พ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ผู้ก่อตั้งสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส

    28. นางนิจพร จารนะจิตต์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในอิตาเลียน-ไทย พี่สาวของ
นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานโรงแรมโอเรียนเต็ล และมีหุ้นส่วนตัวอยู่ในเครือ
โรงแรมอมารี

    29. นายเปรมชัย กรรณสูต ผู้บริหารสูงสุดของ บริษัทรับเหมาก่อสร้าง
อิตาเลียน-ไทย

    30. นายนิธิ โอสถานุเคราะห์ ได้รับตกทอดหุ้น บริษัท โอสถสภามา 25%
มีเงินลงทุนอยู่ใน ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

    31. นายรุ่งโรจน์ แสงศาสตรา ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร
บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำกัด (มหาชน)

    32. นายเฉลิม อยู่วิทยา (ลูกชาย นายเฉียว อยู่วิทยา) เป็นผู้บริหาร บริษัท
เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด

    33. นายประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด
(มหาชน)

    34. นายวิโรจน์ ธนาลงกรณ์ เจ้าของธุรกิจเสื้อผ้าโดยเฉพาะ ชุดชั้นในซาบีน่า

    35. นายวิชัย รักศรีอักษร ผู้ก่อตั้งบริษัท คิง เพาเวอร์ ดำเนินกิจการร้านค้า
ปลอดภาษี

    36. นางพรดี ลี้อิสระนุกูล สืบทอดกิจการในเครือกลุ่มบริษัทสิทธิผล จาก
นายวิทยา ผู้เป็นสามี มีหุ้นอยู่ในสิทธิผลมอเตอร์,ไทย สแตนเลย์ อีเลคทริค
และบริษัทร่วมทุน อินูเอะ รับเบอร์

    37. นายวิชา พูลวรลักษณ์ เจ้าของกิจการ เมเจอร์ ซีนีเพลกซ์ เครือข่าย
ธุรกิจโรงภาพยนตร์ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

    38. นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ เจ้าของกิจการบริษัทก่อสร้าง ช.การช่าง

    39. นายเพชร โอสถานุเคราะห์ (นักร้อง และนักดนตรี เจ้าของผลงานเพลง
"เพียงชายคนนี้..ไม่ใช่ผู้วิเศษ" ที่โด่งดังเมื่อปี พ.ศ. 2530) และนายรัตน์ โอสถา
นุเคราะห์ ซึ่งทั้งสองเข้ารับช่วงการบริหารบริษัทในเครือโอสถสภา
และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

    40. น.พ.พงษ์ศักดิ์ วิทยากร ผู้ก่อตั้ง โรงพยาบาลกรุงเทพ


12 พ.ย. 2553

ศาลรัฐธรรมนูญวันนี้น้ำท่วมปาก


นายธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มนิติราษฎร์ มองว่าคลิบของ ศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของศาลที่เกิด จากทั้งบุคคลภายนอกและคนในที่คอยห้ำหั่นกันเอง ทางที่ดีประธานศาลควรออกมาชี้แจงให้สาธารณชนทราบข้อเท็จจริง โดยเฉพาะคดียุบพรรคประชาธิปัตย์คณะตุลาการจะต้องชี้แจงเหตุผลให้ดี เพราะคนทั้งประเทศกำลังจับตาดูอยู่


สถานการณ์ของศาลรัฐธรรมนูญ
คิดว่าสถานการณ์ของศาลรัฐธรรมนูญตอนนี้น่าหนักใจ เนื่องจากคลิปที่ออกมา 2 ชุดสะท้อนให้เห็นว่าในองค์กรตุลาการอย่างศาลรัฐธรรมนูญมีปัญหา และคลิปที่ปรากฏเป็นตัวอย่างน้อยที่สุดในขณะนี้ที่บั่นทอนความน่าเชื่อถือ ต่อสาธารณชนว่าองค์กรที่ทำหน้าที่รักษาความถูกต้องใน รักษากฎหมาย และรักษาจริยธรรมของประเทศกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการกระทำของตัวเอง ซึ่งถูกตั้งคำถามว่าถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ชอบด้วยจริยธรรมหรือไม่ชอบด้วยจริยธรรม ปัญหาตรงนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่
เป็นปัญหาที่ต้องพิจารณากันอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อสุดท้ายจะได้หาคำตอบว่าเราจะทำอย่างไรไม่ให้ความน่าเชื่อถือของสถาบัน นี้ลดทอนลงไปมากกว่านี้ ซึ่งจะมีผลถึงการทำลายความน่าเชื่อถือของสถาบันตุลาการที่เราถือว่าเป็น สถาบันสุดท้ายในการรักษาความถูกต้องของประเทศ ต้องยอมรับความจริงว่าภาพลักษณ์ของศาลรัฐธรรมนูญน่าเป็นห่วง เพราะคลิปที่ออกมา 2 ชุดศาลรัฐธรรมนูญเริ่มเกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจหรือไม่ไว้วางใจว่าตุลาการ ปฏิบัติตัวสมกับเป็นตุลาการหรือไม่ ศาลจึงต้องพยายามทำเรื่องที่สมควรจะทำเพื่อกู้ภาพพจน์หรือภาพลักษณ์ของตัว เองกลับคืนมาให้ได้
อ้างมีขบวนการทำลายศาล

ผมฟังคำแถลงของตุลาการท่านหนึ่งเมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา บอกว่ามีขบวนการทำลายศาลรัฐธรรมนูญ ปรากฏการณ์ที่มีการเผยแพร่คลิปเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการทำลายความน่าเชื่อของ ศาลรัฐธรรมนูญ ผมเคารพความคิดเห็นของตุลาการท่านนี้ที่แถลงข่าวออกมา แต่ในอีกทางหนึ่งอยากให้มองว่าการทำลายศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่ใช่เรื่องง่าย หากศาลวางตัวในฐานะเป็นผู้ทรงความยุติธรรมอย่างแท้จริง แต่หากศาลปฏิบัติตัวหรือประพฤติในเรื่องที่คนไม่ค่อยไว้วางใจว่าศาลทำตัว เป็นผู้รักษาความยุติธรรมจริงๆ กระบวนการเผยแพร่คลิปก็ไม่มีผลทำให้ความน่าเชื่อถือของศาลลดลง
ตุลาการเคลียร์ไม่ชัดเจน

ผมยังไม่เห็นว่าเป็นคำชี้แจงของตุลาการ เท่าที่ดูเป็นการชี้แจงทั่วๆไปว่าเรื่องนี้เป็นขบวนการทำลายศาล แต่ตัวเนื้อหาในคลิปไม่มีการชี้แจงว่ามีการทำอย่างนี้จริงหรือไม่จริง ที่สำคัญผู้ชี้แจงแทนที่จะเป็นผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ปรากฏในคลิป กลับกลายเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นจะบอกว่าเป็นการชี้แจงไม่ได้ เป็นเพียงการเสนอแนวทางว่าศาลจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไรมากกว่า ขอย้ำว่าการชี้แจงยังไม่เกิด เมื่อการชี้แจงไม่เกิดก็ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องความรับผิดชอบว่าหลังการชี้ แจงตุลาการแต่ละท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องเรื่องคลิปต้องรับผิดชอบอย่างไร

ผมยกตัวอย่างประธานศาลรัฐธรรมนูญจะเกี่ยวกับเรื่องคลิป โดยเฉพาะคลิปแรกต้องมีการพิสูจน์กัน ข้อเท็จจริงที่เรารู้ก็คือคลิปแรกมีการนัดพบกันระหว่างนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ กับนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีของศาล โดยมีการพูดคุยกันว่าควรเอาใครเข้ามาให้การในศาลรัฐธรรมนูญ ตรงนี้ผมขออนุญาตชี้แจงว่าการที่ศาลจะเอาใครหรือไม่เอาใครเข้ามาในศาลเพื่อ ชี้แจงในการพิจารณาคดีมีผลในทางที่เป็นคุณเป็นโทษต่อพรรคการเมืองหรือพรรคใด พรรคหนึ่งได้ เพราะศาลใช้ระบบไต่สวน
เมื่อศาลใช้ระบบไต่สวน ศาลก็มีดุลยพินิจที่จะเรียกพยานหลักฐานเข้าในคดีได้เอง โดยศาลมีดุลยพินิจในการเลือก ถ้าการเลือกพยานเข้ามาของศาลอยู่บนพื้นฐานของความสุจริตใจก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเลือกบนพื้นฐานความไม่สุจริตใจเห็นว่าถ้าเอาคนนี้เข้ามาจะเป็นคุณต่อ พรรคการเมืองพรรคนี้ หรือถ้าเอาอีกคนเข้ามาเป็นโทษต่อพรรคการเมืองพรรคนั้น แล้วเลือกบนพื้นฐานตามความมุ่งหมายนอกเหนือจากเหตุผลทางกฎหมายของตัวเองตรง นี้ก็มีปัญหา แต่พอนายพสิษฐ์ทำอย่างนี้แล้ว ประเด็นคือประธานศาลรับรู้หรือไม่

จนถึงขณะนี้ประธานศาลยังไม่ออกมาชี้แจงเรื่องนี้เลย ทำได้เพียงอย่างเดียวคือปลดนายพสิษฐ์ออกจากเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ การปลดนายพสิษฐ์ออกมองว่าเป็นการแสดงความรับผิดชอบของประธานศาล ผมคิดว่าไม่น่าจะใช่ ขอบอกว่าประธานศาลควรทำอะไรมากกว่าการปลดนายพสิษฐ์ออกจากตำแหน่งเลขานุการ ส่วนตัว นั่นคืออย่างน้อยที่สุดต้องเปิดแถลงข่าวเพื่อชี้แจงว่าสิ่งที่นายพสิษฐ์ทำ ตัวเองไม่ได้รับรู้ด้วย หรือบางเรื่องตัวเองรับรู้แต่ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับคดี ตรงนี้ต้องให้ชัด

แต่เมื่อประธานศาลไม่ออกมาชี้แจง ปลดนายพสิษฐ์อย่างเดียวแล้วไปให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนทำนองว่าขอให้เชื่อมั่น ว่าศาลตัดสินคดีบนพื้นฐานของความยุติธรรม ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลกดดันใดๆ จึงเป็นการให้สัมภาษณ์ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เป็นปัญหา และการที่ตุลาการให้สัมภาษณ์เช่นนี้ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ถ้าถามผมตอนนี้ว่าประธานศาลควรทำอย่างไร ผมค่อนข้างมักน้อย คือหวังว่าในเบื้องต้นประธานศาลควรออกมาชี้แจงด้วยตัวเองถึงเรื่องที่นาย พสิษฐ์ไปทำอะไร อย่างไร แบบไหน ท่านรับรู้หรือไม่รับรู้

นอกจากนี้ควรปล่อยให้สื่อได้ซักถามเพื่อให้ข้อเท็จจริงทุกอย่างกระจ่าง แจ้งระดับหนึ่ง ตรงนี้อาจจะช่วยให้ท่านสามารถตอบคำถามกับสังคมได้ว่าตัวท่านไม่ได้ปิดบัง หรือปกปิดข้อเท็จจริงต่อเรื่องที่สาธารณชนควรจะรับรู้ในเรื่องที่เกิดปัญหา จากการกระทำของเลขานุการส่วนตัวของตัวเอง ดังนั้น ประธานศาลในเวลานี้อย่างน้อยควรออกมาชี้แจง ส่วนความรับผิดชอบถึงขนาดว่าจะถอนตัวจากองค์คณะในการวินิจฉัยคดียุบพรรคประ ชาธิปัตย์หรือไม่ หรือจะลาออกจากการเป็นประธานศาลหรือไม่ หรือจะลาออกจากการเป็นตุลาการหรือไม่ ตรงนั้นต้องให้ความเป็นธรรมกับท่านจนกว่าจะรู้ว่าปัญหาเกิดขึ้นมาจากอะไรกัน แน่ ซึ่งจะรู้ว่าปัญหาเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นยังไง

เบื้องต้นท่านควรจะชี้แจง แต่ที่ยังไม่เห็นออกมาชี้แจงนั้น คือบางท่านอาจคิดว่าวิธีการแก้ปัญหาก็คืออย่าชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น วิธีนี้อาจใช้ได้หรือเหมาะสมกับเรื่องบางเรื่องหรือบางสถานการณ์ นักการเมืองอาจใช้วิธีการแบบนี้ บางเรื่องไม่ชี้แจง ปล่อยให้เงียบไป แต่เรื่องนี้เกิดกับสถาบันตุลาการ และสถาบันนี้มีความสำคัญตรงที่เป็นสถาบันที่รักษาความถูกต้องของประเทศ ไม่ให้สาธารณชนเคลือบแคลงใจคล้ายกับว่าการปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองไม่ได้ เป็นไปอย่างไม่ชอบ
เวลาเกิดปัญหาในศาลจะใช้วิธีการแบบทางการเมือง คือไม่ชี้แจง ผมว่าน่าจะมีโทษมากกว่า เพราะสังคมก็ไม่กระจ่าง เมื่อเป็นเช่นนี้สังคมก็คิดไปได้ต่างๆนานา ถ้าคิดบนพื้นฐานของเรื่องที่ไม่มีข้อเท็จจริงอาจจะไม่อันตรายเท่าไร แต่ถ้าคิดบนพื้นฐานของเรื่องซึ่งมีข้อเท็จจริงสนับสนุนบางส่วนคนอาจคาดหมาย ได้ว่าเป็นเรื่องจริง และถ้าประธานศาลไม่ยอมชี้แจงคนก็คิดไปกันใหญ่ว่าที่ไม่ยอมชี้แจงเพราะชี้แจง ไม่ได้หรือเปล่า กลัวถูกซักถามหรือเปล่า ผมได้ยินตุลาการบางท่านให้สัมภาษณ์ว่าศาลไม่อยู่ในฐานะที่จะชี้แจงได้ ตรงนี้ผมเห็นต่างจากตุลาการ

ผมคิดว่าถ้าเป็นเรื่องของคดี เนื้อหาของคดี แน่นอนว่าศาลไม่ควรออกมาชี้แจง แต่พอดีคลิปที่ออกมา โดยเฉพาะคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่เรื่องของการชี้แจงคำวินิจฉัย แต่เป็นการชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องนอกเหนือคำวินิจฉัย เพราะฉะนั้นตรงนี้ศาลชี้แจงได้ จะบอกว่าศาลไม่อยู่ในฐานะที่จะชี้แจงทุกเรื่อง ผมเห็นว่าไม่น่าจะเป็นอย่างนี้ ขอยืนยันว่าความรับผิดชอบหรือสิ่งที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญควรทำในเบื้องต้น คือออกมาชี้แจงกรณีคลิปชุดแรก

ส่วนคลิปชุดที่ 2 ไม่ใช่คลิปที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดี แต่เป็นคลิปเกี่ยวกับพฤติกรรมส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางท่าน โดยเนื้อหาของคลิปเท่าที่ได้รับฟังจากข่าวเป็นเรื่องการสอบคัดเลือกบุคคล เข้ารับราชการในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกตั้งคำถามว่าโปร่งใสหรือไม่ และตุลาการบางท่านเข้าไปเกี่ยวข้องกับความไม่โปร่งใสในกระบวนการคัดเลือก เจ้าหน้าที่ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ แม้คลิปนี้จะไม่ใช่คลิปเกี่ยวกับการพิจารณาคดี แต่ไม่ได้แตกต่างไปจากคลิปยุบพรรคประชาธิปัตย์

ซึ่งเป็นเรื่องบั่นทอนต่อความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการ นั่นคือถ้าเรื่องนี้ได้รับการพิสูจน์ในขั้นสุดท้ายว่าเป็นจริง หรือแม้กระทั่งตอนนี้ ซึ่งคนสงสัยอาจจะเป็นจริง หมายความว่าในขณะที่ตุลาการมีหน้าที่รักษาความถูกต้องของประเทศ แต่ในทางปฏิบัติจริงๆตุลาการกลับพยายามทำเรื่องที่ไม่ถูกต้องเข้าไปเกี่ยว ข้องกับเรื่องการสอบคัดเลือกโดยวิธีการที่ไม่โปร่งใส บางท่านเรียกว่าเป็นการทุจริต ตรงนี้มีผลต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อตุลาการเหมือนกันว่าในเรื่องบางแม้ขะไม่ ใช่เรื่องการวินิจฉัยคดียังใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้อง คนจะไว้วางใจได้อย่างไรว่าท่านจะรักษาความถูกต้องเป็นธรรมในการวินิจฉัยคดี ได้

ซ้ำร้ายไปกว่านั้นคลิปนี้มีการพูดถึงตุลาการด้วยกันเองในหลายเรื่อง บางเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้งภายในของตุลาการ โดยเฉพาะเนื้อหาของคลิปที่พูดถึงการดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีตุลาการบางท่านเห็นว่าควรอยู่ในตำแหน่ง 3 ปี พอถึงเวลาจริงๆอาจจะยังไม่อยากลง จึงมีกระบวนการเรียกเข้าไปนั่งคุย คุยเสร็จแล้วมีการอัดเทป อีกฝ่ายหนึ่งก็เอามาพูดต่อว่าเขาอัดเทปไว้แล้วอย่างนั้นอย่างนี้ จึงเห็นว่าเป็นเรื่องของการใช้วิธีการในทางการเมือง ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่ถูกต้องและไม่ใช่วิสัยที่ตุลาการควรทำ

ผลที่ตามมาคือนอกจากความไว้เนื้อเชื่อใจของสาธารณชนต่อตุลาการที่ทำ เรื่องที่ไม่ถูกต้องแล้ว การทำงานระหว่างตุลาการด้วยกันเองที่พยายามใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องในการห้ำ หั่นกันเพื่อผลบางอย่างจะยิ่งทำให้ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อตัวตุลาการทรุด หนักลงไปอีก ตรงนี้อาจเป็นอันตรายต่อสถาบันตุลาการโดยรวมมีผลต่อคดียุบ ปชป. แค่ไหน

ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อคำวินิจฉัยของศาลแยกออกได้ คือความน่าเชื่อถือกับเนื้อหาของคดีหรือเหตุผลที่ปรากฏอยู่ในคำวินิจฉัย ถ้าคำวินิจฉัยเขียนมาอย่างสมเหตุสมผลบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ตรงนี้ความน่าเชื่อถือก็เกิดขึ้นได้ระดับหนึ่ง แต่นอกจากตัวเหตุผลในคำวินิจฉัยแล้ว สิ่งที่ต้องดูต่อไปคือตัวผู้ทำคำวินิจฉัย ถ้าผู้ทำคำวินิจฉัยมีพฤติการณ์ที่สาธารณชนไม่ไว้วางใจว่าจะสามารถวินิจฉัยบน พื้นฐานของความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง คำวินิจฉัยออกไปถึงจะมีเหตุผลดีอย่างไร อย่างน้อยคนยังมีความคลางแคลงใจอยู่

ถ้าหากเหตุผลในคำวินิจฉัยไม่สมเหตุสมผลตามข้อเท็จจริง ตามข้อกฎหมาย ความไม่เชื่อถือที่ปรากฏอยู่กับผู้ทำคำวินิจฉัย เมื่อนำมาประกอบกับความไม่สมเหตุสมผลของตัวเนื้อหาคำวินิจฉัยจะยิ่งทำให้ เกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อคำวินิจฉัยของศาลมากขึ้น คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ในชั้นนี้คนกำลังจับดูในแง่ของผู้ทำคำวินิจฉัยว่า วันนี้ผู้ทำคำวินิจฉัยอยู่ในฐานะที่ควรจะไว้วางใจหรือไม่ด้วยเหตุผลที่ปรากฏ อยู่ในคลิป คณะตุลาการนอกจากจะต้องเร่งฟื้นฟูภาพลักษณ์ของตัวเองให้สาธารณชนได้เชื่อใจ

สิ่งสำคัญคือเมื่อจะต้องวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือต้องวินิจฉัยบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ของกฎหมายที่สมเหตุสมผล ถ้าไม่สมเหตุสมผล ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อตัวผู้ทำคำวินิจฉัย ประกอบกับตัวคำวินิจฉัยที่ไม่สมเหตุสมผลจะทำให้ความคลางแคลงใจของสาธารณชน เกิดขึ้นมามากขึ้น และถ้าเกิดขึ้นมาถึงขนาดศาลกอบกู้ภาพลักษณ์ได้ยากแล้ว ในที่สุดจะเป็นผลร้ายต่อระบบตุลาการของประเทศ โดยเฉพาะคณะตุลาการที่เราเรียกว่าศาลรัฐธรรมนูญ
จะเกิดวิกฤตการเมืองอีกครั้ง

ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา 3-4 ปี วิกฤตการณ์ของประเทศที่เกิดขึ้นมา คนจำนวนหนึ่งเห็นตรงกันว่าเป็นวิกฤตที่เกิดจากการทำหน้าที่ของตุลาการ หากเร็ววันนี้มีการตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ถ้าคนยังคลางแคลงใจว่าการตัดสินคดีพรรคประชาธิปัตย์ทำบนพื้นฐานของความไม่ ถูกต้องทั้งหลักกฎหมาย ข้อเท็จจริง กระบวนพิจารณา หรืออาจถูกตั้งคำถามถึง 2 มาตรฐานเมื่อเทียบข้อเท็จจริงระหว่างคดีต่อคดีก็มีความเป็นไปได้ที่อาจเกิด ภาวะความไม่ไว้วางใจอย่างยิ่งต่อองค์กรตุลาการ อาจแปรสภาพเป็นปัญหาทางการเมือง ในที่สุดจะนำไปสู่วิกฤตทางการเมืองที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

ผมได้แต่ภาวนาว่าไม่อยากให้เดินไปถึงจุดนั้น ดังนั้น คดียุบพรรคประชาธิปัตย์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องตั้งสติให้มั่นว่าการ วินิจฉัยคดีจะเป็นไปด้วยความยุติธรรมจริงๆ สมเหตุสมผลจริงๆ และไม่ 2 มาตรฐานจริงๆ จึงเป็นหน้าที่ของตุลาการที่จะต้องหาคำอธิบายที่สมเหตุสมผลจนสาธารณชนเชื่อ ใจว่าการตัดสินคดีนี้เป็นไปอย่างถูกต้องและชอบธรรม

อยากฝากอะไรกับตุลาการศาล รธน.ในฐานะเป็นประชาชนและนักกฎหมายตัวเล็กๆคนหนึ่ง เห็นว่าวันนี้คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้แบกเกียรติยศศักดิ์ศรีเฉพาะ ศักดิ์ศรีของตัวท่านอย่างเดียว แต่ท่านมีหน้าที่ในการรักษาศักดิ์ศรีของสถาบันศาลโดยรวมด้วย เพราะฉะนั้นการปฏิบัติตัวของศาล หรือการชี้แจงแถลงเหตุผลของศาลไม่ว่าจะเป็นเรื่องหนึ่งเรื่องใด ศาลต้องตระหนักให้มากว่าการทำอย่างนั้นไม่ใช่เพื่อปกป้องตัวเอง แต่เป็นการรักษาสถาบันศาลเอาไว้ ศาลจำเป็นต้องเสียสละตัวเองเพื่อสถาบัน คณะตุลาการควรยอมสละ แต่ถ้ายอมสละสถาบันเพื่อให้ตัวเองรอดก็ไม่ใช่วิสัยของตุลาการที่ดี

ผมยังไม่ได้คิดไกลถึงขนาดว่าให้คณะตุลาการลาออกทั้งคณะ เพราะถ้าพูดด้วยความเป็นธรรมต้องเข้าใจว่าตุลาการที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิด การวิจารณ์ไม่ได้เกิดจากตุลาการทุกคน แต่เกิดจากตุลาการบางส่วน ดังนั้น จึงไม่เป็นธรรมที่จะให้ตุลาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นปัญหาในขณะ นี้ต้องรับผิดชอบเรื่องที่ตัวเองไม่ได้ทำด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องลาออกทั้งคณะผมคิดว่าไม่จำเป็น แต่เรื่องตุลาการที่เกี่ยวข้องควรจะลาออกหรือไม่ ผมปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของท่านที่ต้องตัดสินใจว่าท่านคิดว่าเพื่อรักษา สถาบัน ท่านควรทำอย่างไรเพื่อให้เกิดผลดีที่สุดต่อสถาบันตุลาการ

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 284 วันที่ 6 – 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 หน้า 18-19 คอลัมน์ ฟังจากปาก โดย กิตติพิชญ์ ยิ่งวรการสุข

เสื้อแดงฟ้องศาลโลก


สํานักกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ ในนามของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และบุคคลอื่น ได้จัดทำ รายงานเบื้องต้นของการกระทำที่อาจถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษย ชาติในราชอาณาจักรไทย

ยื่นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ บอกเล่าเหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงเม.ย.2552 และพ.ค.2553 ก่อนจะยื่นเอกสารอีกฉบับยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ในอีก 8 อาทิตย์ข้างหน้า
รายงานมีเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้

หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 นำมาสู่การจัดตั้งรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลุ่มรัฐบาลผสมใหม่จัดตั้งขึ้นจากการร่วมมือของอดีตแกน นำสมาชิกพรรคพลัง ประชาชน นำโดยนายเนวิน ชิดชอบ มีการประชุมหารือกันในวันที่ 6 ธ.ค. ที่บ้านของนายทหารคนหนึ่ง มีการล็อบบี้อย่างหนักโดยทหารและสมาชิกองคมนตรี

หลังขึ้นสู่อำนาจรัฐบาลพยายามปิดปากฝ่ายตรงข้าม โดยใช้ระบบกฎหมาย และคุกคามทางการเมือง ส่งผลให้คณะกรรมการปกป้องนักข่าวและนักข่าวไร้พรมแดนประณามรัฐบาล อภิสิทธิ์ อย่างรุนแรง รายงานที่เผยแพร่เมื่อต้นปี กลุ่ม Human Rights Watch ออกมากล่าวถึง “ความเสื่อมถอย” ของสิทธิมนุษยชนในไทย และผลการจัดอันดับความมีเสรีภาพของสื่อทั่วโลกโดยนักข่าวไร้พรมแดนในปี 2553 ได้จัดให้ไทยอยู่ในลำดับที่ 153 ซึ่งตกลงมาถึง 23 ลำดับ

รายงานเล่าถึงเหตุการณ์ปี 2552 ที่เริ่มจากการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงในวันที่ 11 เม.ย.2552 ที่พัทยา นำไปสู่การยกเลิกการประชุมผู้นำสุดยอดอาเซียน และทหารเข้าสลายกลุ่มเสื้อแดงที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่รอบกรุงเทพฯ เช้าตรู่วันที่ 13 เม.ย.


มีการยิงพลเรือนที่ไม่มีอาวุธโดยใช้กระสุนจริงในความมืดก่อนรุ่งสาง ทำให้ผู้ชุมนุมกว่า 123 รายได้รับบาดเจ็บ

พยานให้การว่าผู้ชุมนุมเสื้อแดงอย่างน้อย 6 คนเสียชีวิตทันทีจากการสาดกระสุนยิง แต่ศพถูกลำเลียงขึ้นรถบรรทุกและขับออกจากพื้นที่ไปอย่างรวดเร็ว หลายวันต่อมาศพผู้ชุมนุมเสื้อแดง 2 ราย ลอยขึ้นอืดเหนือแม่น้ำเจ้าพระยา สภาพศพถูกมัดและมีผ้าปิดปาก

การสังหารหมู่ปี 2553 ใช้วิธีการเดียวกันกับปี 2552 โดยใช้กระสุนจริงยิงกลุ่มผู้ชุมนุมและพลเรือนที่ปราศจากอาวุธ ในรายการ ลำดับเหตุการณ์อย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นชุมนุมในวันที่ 14 มี.ค. กระทั่งบ่ายของ 10 เม.ย ทหารเริ่มต้นสลายผู้ชุมนุมบริเวณ สะพานผ่านฟ้า จากนั้นเป็นสี่แยกคอกวัว ทหารระดมยิงกระสุนยางจากปืนสั้น 12 เล็งตรงไปยังพลเรือน ขณะที่กองกำลังทหารอื่นๆ ระดมยิงกระสุนจริงจาก เอ็ม 16 และปืนไรเฟิลอัตโนมัติ จากหลักฐานเทปวิดีโอบันทึกชัดเจนว่าการใช้ เอ็ม 16 ปืนในโหมดอัตโนมัติกระสุนปืนจริงนั้นจะไม่มีการใช้อแดปเตอร์ และหลักฐานยังแสดงว่ามีการใช้กระสุนปืนจริง

เหตุการณ์รุนแรงขึ้นในเวลา 19.50 น. มีการปาระเบิดไปทางฝั่งของทหารบริเวณถนนดินสอ ทหารเสียชีวิตหลายนาย จากนั้นทหารที่เคยใช้ปืนไรเฟิลยิงข่มขู่ผู้ชุมนุม กลับยิงกระสุนปืนจริงนับพันใส่ผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธและรวมตัวกันอยู่ รอบอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตยทันที และจากนั้นทหารที่รวมกลุ่มกันที่ถนนตะนาว สี่แยกคอกวัว กราดกระสุนนับพันนัดใส่ผู้ชุมนุม

รายงานอ้างพยานให้การถึงเหตุการณ์บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในเย็นวัน นั้น หลายคนไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อ แต่ผู้ร้องทราบและมีข้อมูลสามารถเปิดเผยให้แก่อัยการได้หากมีกระบวนการคุ้ม ครองชีวิตและความปลอดภัยของพยานและครอบครัว

พยานปากที่ 14 เห็นเหตุการณ์ชุมนุมบริเวณสะพานผ่านฟ้า ในวันที่ 10 เม.ย. เวลา 18.30 น. พยานเดินทางไปยังถนนตะนาว เห็นทหารยิงกระสุนจริงเข้าใส่กลุ่มคนเสื้อแดงโดยไม่เตือนล่วงหน้า คนที่ถูกยิงอย่างน้อย 1 ราย เลือดไหล และเห็นรูกระสุนบนกำแพงโดยรอบ ในระดับสายตาหรือต่ำกว่านั้น
พยานได้ยินเสียงปืนและชายคนหนึ่งถูกยิงที่ใบหน้า การ์ดเสื้อแดงใช้เชือกกั้นบริเวณที่ชายดังกล่าวล้มลง มีกองเลือดบนพื้น และเศษกระดาษที่ระบุชื่อและอายุชายคนดังกล่าว และเห็นกองเลือดอีกสองกองใกล้ๆ กัน มีเศษกระดาษที่ระบุว่าชายทั้งสองคนถูกยิงเสียชีวิตในบริเวณดังกล่าว

พยานปากที่ 16 พวกเขาถูกยิงด้วยแก๊สน้ำตา ขณะที่พยานกำลังใช้น้ำทำความสะอาดตาบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พยานถูกยิงที่ตาและเป็นเหตุให้สูญเสียดวงตา

พยานปากที่ 2 ระบุแก๊สน้ำตาถูกยิงจากเฮลิคอปเตอร์ ในเวลา 19.20 น. โดยปราศจากการเตือนล่วงหน้า ทหารเริ่มยิงปืนใส่กลุ่มผู้ชุมนุม มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 5 ราย

พยานปากที่ 5 เป็นนักข่าว ให้การว่า เวลา 19.00 น. วันที่ 10 เม.ย. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่มทหารยิงปืน เอ็ม 16 ขึ้นฟ้า จึงบันทึกภาพไว้ เมื่อทหารขับรถออกไปเกิดเหตุระเบิดใกล้กับที่พยานยืนอยู่ คิดว่าเป็นระเบิดปิงปองจากกลุ่มทหารที่สนับสนุนพันธมิตร ขณะที่ขบวนรถทหารขับออกไป ชายเสื้อแดงถือกิ่งไม้วิ่งตะโกนมาตามถนนว่า “มันฆ่าพี่น้องเรา” รถขบวนทหารคันหลังซึ่งอยู่ห่างจากชายคนดังกล่าวราว 150 เมตร โดยไม่มีเสียงเตือนชายคนดังกล่าวถูกยิง 5 นัด จากทิศทางของรถขบวนทหาร

พยานปากที่ 17 ให้การว่าราว 19.00 น. มีผู้ชุมนุมเสื้อแดงกว่าหนึ่งพันคนบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ทหารเริ่มยิงปืนขึ้นฟ้า ขณะทหารถอยร่นไปยังบริเวณถนนดินสอได้ใช้กระสุนปืนจริงยิงใส่กลุ่มคนเสื้อแดง ที่ไม่มีอาวุธ ชายคนหนึ่งถูกยิงที่ศีรษะ สมองไหลออกมาจากหัวกะโหลก พยานบันทึกภาพไว้

จากนั้น เห็นทหารบาดเจ็บบริเวณถนนดินสอ และบันทึกวิดีโอที่กลุ่มคนเสื้อแดงพยายามปฐมพยาบาลให้ ขณะที่ทหารยังคงยิงปืนใส่พยานและคนเสื้อแดงที่กำลังปฐมพยาบาลทหาร คนเสื้อแดงที่ช่วยปฐมพยาบาลทหารถูกยิงที่เท้า ส่วนพยานถูกยิงเข้าที่ช่องท้อง

พยานปากที่ 15 เป็นอาสาพยาบาลและอยู่ในเหตุการณ์การยิงปะทะที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ราว 60 เมตรทางทิศเหนืออนุสาวรีย์ฯ พยานเห็นคนเสื้อแดงปฐมพยาบาลทหาร ทหารยังคงยิงใส่ผู้ชุมนุม และเพิกเฉยต่อสัญลักษณ์กาชาดบนอุปกรณ์ปฐมพยาบาล และอาสาพยาบาลถูกยิงที่เท้า

เวลา 20.15 น. ข้าราชการผู้ใหญ่ได้ติดต่อกับผู้นำเสื้อแดงทางโทร ศัพท์มือถือ เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นองเลือดที่อาจเพิ่มมากขึ้น แกนนำเสื้อแดงตกลงอย่างรวดเร็ว ณ เวลานั้นมีเสื้อแดงเสียชีวิต 17 ศพ มีผู้บาด เจ็บกว่า 600 ราย

3 พ.ค. นายกฯ ประกาศแผนการปรองดองเพียงฝ่ายเดียว และรวมถึงความเป็นไปได้ที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในต้นเดือนพ.ย. คนเสื้อแดงยอบรับข้อเสนอแผนการปรองดองแต่ไม่ยอมสลายการชุมนุมเพราะต้องการ ความมั่นใจจากรัฐบาล

13 พ.ค. 1 วันหลังจากที่รัฐบาลยกเลิกข้อเสนอให้มีการจัดการเลือกตั้งล่วง หน้า พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ถูกซุ่มยิงระหว่างให้สัมภาษณ์ บริเวณ สวนลุมพินี และเสียชีวิต 2-3 วันหลังจากนั้น กระสุนที่ปลิดชีวิตเสธ.แดง เป็นกระสุนจริงชนิดเดียวกันที่ทหารใช้ยิงผู้ชุมนุม

จากนั้นกองทัพพยายามเข้ายึดที่ชุมนุม มีการฆ่าหมู่เกิดขึ้นบริเวณที่ชุมนุม แยกราชประสงค์ ดินแดง และลุมพินี บางพื้นที่ เช่น ถนนราชประสงค์ ไปจนถึงทางทิศเหนือ และถนนพระราม 4 ไปจนถึงทางทิศใต้ เป็นเขตที่ทหารประกาศใช้ “กระสุนจริง”

นักข่าวช่างภาพ Nick Nostitz บันทึกว่า มีคนที่เดินผ่านไปมาบริเวณดังกล่าวถูกยิงได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการ ยิงของฝ่ายทหารจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือเด็กผู้ชายอายุ 10 ขวบ ถูกยิงที่สถานีรถไฟฟ้ามักกะสัน

นักข่าวยังตกเป็นเป้าสังหาร Nelson Rand นักข่าวชาวฝรั่งเศส อายุ 24 ปี ถูกยิงเมื่อวันที่ 14 พ.ค. ทางทิศใต้ของสวนลุมพินี ขณะที่ Fabio Polenghi ช่างภาพชาวอิตาลี เสียชีวิตจากการถูกยิงเข้าที่หน้าอกในวันที่ 19 พ.ค.

ที่น่าเลวร้ายที่สุดคือ ทหารได้กั้น “เรดโซน” กันไม่ให้อาสาพยาบาลเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บ และยิงพวกเขาในขณะที่เข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บ

คำให้การพยานถึงการสลายการชุมนุมระหว่างวันที่ 13-19 พ.ค.

พยานปากที่ 18 (14 พ.ค.) เป็นคนเสื้อแดง เดินทางไปยังสวนลุมพินี เห็นทหารหลายคนอยู่นอกรั้วของ สวน เล็งปืนเข้าไปในสวน และทหารที่อยู่ในสวนถือปืนสั้น พยานถูกทหารถือปืนไรเฟิล M16 ที่มีลำกล้องส่อง ยิงที่ขาขวาด้านล่าง พยานขับรถหนีแต่ทหารยังคงยิงไล่ล่าราว 30-40 ครั้ง ขาและข้อเท้าขวาของพยานถูกยิงกระจุย

พยานปากที่ 19 (14 พ.ค.) เดินทางไปสวนลุมพินี เห็นทหาร 50-60 ราย ยืนเรียงแถวตามรั้วเล็งปืนไรเฟิลเข้าไปในสวน ทหารคนหนึ่งยิงพยานด้วยปืนสั้นโดนหัวไหล่ด้านซ้าย พยานวิ่งไปยังต้นไม้ ทหารยังคงยิงกระสุนสาดใส่หลายนัดสลับกับการยิงทีละนัด พยานถูกยิงเป็นครั้งที่สองด้วยกระสุนปืนไรเฟิล จึงโดดลงไปในสระน้ำ โผล่ขึ้นมาเห็นทหาร 3 นาย จึงโดดขึ้นจากสระวิ่งหนี และถูกยิงเป็นนัดที่ 3 กระสุนไรเฟิลเข้าที่น่องขาด้านซ้าย

หลังได้รับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล พยานถูกส่งตัวไปยังเรือนจำและถูกล่ามโซ่ที่เตียงนอน ได้รับแจ้งว่าถูกจับกุมเนื่องจากละเมิดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พยานถูกล่ามโซ่ไว้ที่เตียงนอนตลอด 24 ชั่วโมงเป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นถูกคุมขังในห้องขังปกติและไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาทางอาญาอย่างเป็น ทางการ พยานถูกเรียกไปให้ปากคำที่สำนักงานอัยการ 2 ครั้ง แต่ถูกเลื่อนออกไป

พยานปากที่ 20 ให้การเห็นทหารใกล้ซอยงามดูพลีในวันที่ 14 พ.ค. ซ่อนตัวอยู่ใต้สะพานไทย-เบลเยียม พยานยิงธนูใส่ทหาร ทหารโต้กลับด้วยกระสุนจริง เห็นแม่ค้าอายุราว 50 ปีถูกยิงเสียชีวิต และชายหนุ่มอายุราว 30 ปีถูกยิงเข้าที่แก้ม และชายหนุ่มที่มีรอยสักคนหนึ่งถูกยิงเข้าที่กระดูกสันหลัง

เห็นผู้ถูกยิงทั้งหมด 6 ราย 4 ใน 6 รายเสียชีวิต รวมถึงแม่ค้า และชายคนที่ถูกยิงขณะกำลังบันทึกภาพวิดีโอด้วยโทรศัพท์มือถือ พยานและประชาชนอีกราว 30 คน เข้าไปหลบภัยในตรอกใกล้เวทีมวยลุมพินี ทั้งหมดถูกทหารใช้กำลังบังคับให้ออกจากบริเวณดังกล่าว นายทหารได้สั่งการและบังคับให้คนเหล่านั้นงอตัว เตะและตี ใช้ปืนที่ปลดล็อกแล้วเล็งใส่ด้วย

พยานปากที่ 12 (14 พ.ค.) พยานเป็นอาสาสมัครตำรวจในกรุงเทพฯ พยานและภรรยาถูกบังคับให้หยุดอยู่หน้าโรงแรมอินทรา ตรงบริเวณสะพานลอยข้ามถนนราชปรารภมีทหาร 8 นายเฝ้าอยู่ ยิงทุกสิ่งที่เคลื่อนไหวในทุกทิศทาง หญิงสาวคนหนึ่งพยายามข้ามถนนจึงถูกยิงล้มลง เวลา 20.00 น. ทหารยิงใส่มอเตอร์ไซค์ 2 คัน จนล้มลงกับพื้น ไม่กี่นาทีได้เกิดเหตุระเบิดหน้าโรงแรมอินทรา
ก่อนระเบิดพยานเห็นแสงเลเซอร์แดงยิงสาดลงมาก่อนแสงเลเซอร์สีเขียวปรากฏ จากนั้นเกิดเสียงระเบิดทันที เมื่อเห็นแสงดังกล่าวอีกก็เกิดเหตุระเบิดครั้งที่สอง มีผู้บาดเจ็บ 3 คนรวมถึงพยาน ที่โดนสะเก็ดระเบิดมีแผลที่หลัง

พยานปากที่ 22 เล่าเหตุการณ์ที่ถนนราชปรารภ ระหว่างแยกดินแดงและซอยหลังสวน (14-15 พ.ค.) พยานเห็นเหตุการณ์จากระเบียงห้องพัก ทหารมีอาวุธครบมือเปิดฉากยิงประชาชนที่ไม่มีอาวุธ ราว 18.00 น. ตอนแรกทหารใช้กระสุนยาง ตามด้วย กระสุนจริง โดยไม่แยกแยะว่าจะเป็นศีรษะหรือเท้า เหยื่อบางคนเป็นประชาชนที่มุงดูเหตุการณ์

รุ่งขึ้นราว 08.15 น. พยานเห็นประชาชนราว 15 คนเดินขบวนบนถนนถือธงชาติไทย ทันใดนั้นพวกเขาก็ถูกยิงด้วยปืนไรเฟิล (นาโต 223) โดยไม่เตือนล่วงหน้า พลเรือนสองคนถูกยิงเสียชีวิตทันที แต่ทหารยังคงสาดยิงกระสุนหลังจากนั้นราว 30 นาที และยังยิงคนที่พยายามเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บด้วย
พยานปากที่ 23 พยานเข้าร่วมการชุมนุมที่ดินแดง และในบริเวณที่ชุมนุม ประมาณวันที่ 18-19 พ.ค. พยานเห็นทหารยิงศีรษะของหญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งมีอาชีพเก็บขยะขาย ซึ่งอาจเป็นความผิดพลาดเพราะหญิงดังกล่าวไม่ใช่ผู้ชุมนุม กลุ่มทหารดังกล่าวมีอายุน้อยและยิงใส่ทุกคนในบริเวณดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นคนขับมอเตอร์ไซค์

19 พ.ค. วันมหาวิปโยคแห่งการฆ่าหมู่ประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยมากที่สุดใน ประวัติศาสตร์ไทย จำนวนผู้เสียชีวิตอาจจะมีมากกว่านี้มากมายหากแกนนำเสื้อแดงไม่ยอมมอบตัว
อีกหลายชั่วโมงหลังจากการสลายการชุมนุม มีประชาชนอีก 6 ราย ถูกสังหารในวัดปทุมวนาราม นักข่าวต่างชาติที่ได้รับบาดเจ็บในที่เกิดเหตุเล่าว่ามือปืนซุ่มยิงผู้ ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธที่อยู่ในวัดจากรางรถไฟฟ้า พยาบาล 3 ใน 4 รายสวมเครื่องแบบที่บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นอาสาพยาบาล เป็น 1 ในพลเรือนที่ถูกยิงเสียชีวิต

พยานปากที่ 6 และ 9 ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ชุมนุมที่แยกราชประสงค์ วันที่ 19 พ.ค. ราว 16.00 น. และ 17.00 น. เห็นทหารบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสตรงทางเข้าวัด ส่วนเต็นท์พยาบาลภายในวัดมีสัญลักษณ์กาชาดชัดเจน เวลา 18.30 น. ทหารเริ่มยิงเข้าไปในเขตวัดโดยไม่มีคำเตือนล่วงหน้า

เต็นท์พยาบาลถูกยิงกราด มีอาสาพยาบาล 3 รายถูกยิงเสียชีวิต กมนเกด อัคฮาด, มงคล เข็มทอง และ อัครเดช แก้วขัน ซึ่งอัครเดช เสียชีวิตลงอย่างเจ็บปวดทรมาน ทหารยิงทุกสิ่งที่เคลื่อนไหว เพื่อไม่ให้ประชาชนเข้าไปขอความช่วยเหลือเบื้องต้นจากพยาบาลในเต็นท์

เวลา 19.00 น. กลุ่มทหารเข้าไปตะโกนด่าหยาบคายในวัด ในขณะที่พยานและคนอื่นช่วยกันลากศพไปไว้ในที่ปลอดภัย และทหารยังพยายามยิงพวกเขา ทหารหยุดยิงราว 20.00 น.

รายงาน ระบุ จากการสลายการชุมนุม รัฐบาลอภิสิทธิ์และกองทัพเพิกเฉยหลักการพื้นฐานของการควบคุมฝูงชน ซึ่งตรงข้ามกับ”มาตรฐานสากล” อย่างเช่น หลักการพื้นฐานของการใช้กำลังและอาวุธของคณะกรรมการบังคับใช้กฎหมายองค์การ สหประชาชาติ

การสลายการชุมนุมไม่มีความพยายามที่จะใช้ “อาวุธที่ไม่มีความรุนแรง” ไม่มีการใส่ใจ และสนใจว่าจะมีอันตรายต่อผู้ไม่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นหรือไม่ หรือพยายามรักษาชีวิตของผู้อื่น

การตอบโต้ของทหารไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำตอบโต้ของคนเสื้อแดงที่เพื่อ แค่ เผายางรถยนต์ หรือจุดประทัด การทำร้ายอาสาพยาบาลแสดงให้เห็นถึงการไม่ “พยายามช่วยเหลืออาสา พยาบาล เพื่อบรรเทาจำนวนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บก่อนหน้านี้”

รายงานระบุ นอกจากการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รัฐบาลยังออกกฎระเบียบเพิ่มเติมที่ให้ขยายอำนาจพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ใน การจับกุมและคุมขังผู้ต้องสงสัย รวมไปถึงการเรียกตัวบุคคลมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ หรือให้หลักฐานเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน

ชัดเจนว่าพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ได้ถูกบังคับใช้ในการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่เป็นการเอื้ออำนาจให้กับรัฐบาลในการทำลายอำนาจทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม การยืดพ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไป ยังเป็นการละเมิดสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมือง (ICCPR)
เพื่อการพิจารณากระทำการสอบสวน ผู้ร้องได้ยื่นรายงานเบื้องต้นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และประมาณ 8 อาทิตย์ จะยื่นเอกสารอีกฉบับเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในกรณีของศีลธรรมอันดี

รายงานระบุว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันมีมาตรฐานที่ต่ำในการ”ดำเนินการสอบสวนที่เป็นอิสระ” การสอบสวนในอดีตถึงเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ถึงการเสียชีวิตของกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา 500 ราย ที่เกิดจากกองทัพเรือไทยผลักเรือของพวกเขาออกไปยังทะเลหลวง ทำให้เห็นว่าจะสามารถคาดหวังอะไรได้จากการสอบสวนของรัฐบาลถึงความรุนแรงใน เดือนเม.ย. และ พ.ค.2553
และแม้ว่ารัฐบาลมีโอกาสที่จะกระทำการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเป็น อิสระ แต่เป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่ารัฐบาลไม่เต็มใจ หรือสามารถที่จะกระทำดังกล่าว

นอกจากจะล้มเหลวในการเริ่มดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ความรุนแรงอย่างเป็น ธรรม และสมบูรณ์ รัฐบาลยังคงปฏิเสธให้แกนนำเสื้อแดงเข้าถึงหลักฐานผลชันสูตร เอกสาร และวิดีโอภาพและเสียงที่ใช้ประกอบการดำเนินคดี

แม้จะไม่มีข้อกำหนดให้ผู้ร้องต้องระบุรายชื่อของกลุ่มผู้กระทำผิด หรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อันระบุในคำร้องนี้ในขั้นตอนการ ยื่นเอกสาร แต่ถือเป็นเรื่องอันเหมาะสมที่จะสรุปความรับผิดของกลุ่มผู้นำพลเรือนและนาย ทหารระดับสูงในรัฐบาลไทย

รายงานระบุว่า ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผอ.ศอฉ. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. และผู้บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท ปลัดกลาโหม พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ.
พล.ต.อ.ประทีป ตันประเสริฐ อดีตรรท.ผบ.ตร. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานคณะที่ปรึกษาทบ.
พล.อ.ธีระวัฒน์ บุณยะประดับ รองผบ.ทบ. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสธ.ทบ.

9 พ.ย. 2553

วิสุทธิ์ทวงศักดิ์ศรีตำรวจและความยุติธรรม


ผ่าเกมดับเครื่องชนนักการเมือง
ชื่อชั้นของ “ผู้การวิสุทธิ์”หงอใครเสียที่ไหน
เมื่อจู่ๆถูกเด้งภาค9เข้ากรุแบบไม่สมเหตุสมผล จึงออกมาดับเครื่องชนนักการเมืองชุดใหญ่ ว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการเด้งครั้งนี้
ซึ่งสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังยุครัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เรื่องของ 2 มาตรฐาน เรื่องของการเล่นพรรคเล่นพวก เรื่องของผลประโยชน์การเมือง และเรื่องของการล้วงลูกโผต่างๆ โดยเฉพาะโผตำรวจ
ถือเป็นเรื่องธรรมดา… ในยุคกระเบื้องเฟื่องฟูลอยเช่นนี้
มือยาวสาวได้สาว... ด้านได้อายอด... กลายเป็นมอตโต้ของกระสือการเมืองกลุ่มใหญ่ที่อาศัยใบบุญนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกปฏิบัติการล่าเหยื่อกันสลอน
นายอภิสิทธิ์ พยายามที่จะสร้างภาพเป็น “มิสเตอร์คลีน” เลยกลายเป็นน้ำยาฟอกขาวให้กับบรรดาคนใกล้ตัว คนร่วมพรรค คนชอบเสนอหน้าทั้งหลาย ใช้เป็นโล่บังให้หากินได้สะดวกโยธินมากขึ้น
แต่ครั้งนี้การล้วงลูกโผตำรวจ ไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 (รองผบช.ภ.9) เปิดแถลงข่าวเอิกเกริก “ฉะ โผตำรวจ นักการเมืองล้วงลูก”
เปิดโปงการแต่งตั้งโยกย้ายระดับรองผู้บัญชาการ (รอง ผบช.) ถึงผู้บังคับการ (ผบก.) วาระประจำปี 2553 ซึ่งคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เพิ่งพิจารณาแต่งตั้งไปเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีการโยกย้าย พล.ต.ต.วิสุทธิ์จากรอง ผบช.ภ.9 เป็นรอง ผบช.สำนักงานกฎหมายและคดี (รอง ผบช.กมค.)
เป็นการออกมาต่อสู้ให้พี่น้องประชาชน ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ
“สาเหตุที่ย้ายครั้งนี้ก็คือ ผมไปอยู่ที่ บช.ภ.9 ดูแล จ.สงขลา ตรัง สตูล พัทลุง มีบ่อนการพนัน อบายมุขทุกอย่าง ยาเสพติด โปปั่น โต๊ะพนันบอล หวย หุ้น น้ำมันเถื่อน ของหนีภาษี ยาเสพติด โดยเฉพาะยาแก้ไอสี่คูณร้อย ที่เอาไปผสมกระท่อมทำยาเสพติด ผมจับไปแล้วเกือบแสน ผมไปอยู่พอจับกุมก็มีนักการเมืองมาเคลียร์แต่เคลียร์ผมไม่ได้ และส่วนมากคนที่ทำคือนักการเมืองระดับชาติ นักการเมืองท้องถิ่น ลิ่วล้อ หัวคะแนน ทำอย่างนี้ทั้งหมด เดือนหนึ่งหลายร้อยล้าน น้ำมันเถื่อนได้ส่วนต่างลิตรละ 8-10 บาท” พล.ต.ต.วิสุทธิ์ระบุ
และยังได้มีการย้ายตำรวจที่ละเลยจับกุมของผิดกฎหมายไปแล้ว 8 คน จาก 4 โรงพัก ที่ผ่านมาไม่เคยจับ พอไปจับสะเทือนทั้งวงการ เมื่อไปจับเรียกว่าทุบหม้อข้าวไม่ พอ ไปทุบโรงสีอีก รื้อโรงสี นี่แหละสาเหตุที่ทำให้ถูกย้าย เพราะเป็นจระเข้ขวางคลอง ไม่ยอมนักการเมือง ลิ่วล้อนักการเมืองทำผลประโยชน์โดยมิชอบ ทุจริตกันทุกอย่างไม่ว่าเรื่องงบประมาณหรือเรื่องอะไรก็ตาม
สาเหตุสำคัญที่สุด เพราะไปทุบหม้อข้าวเลยเอาออก เพราะไปทำรายได้ของเถื่อนกว่า 100 ล้านต่อเดือน เหลือแค่ 20% รายได้หาย
ซึ่ง พล.ต.ต.วิสุทธิ์ บอกว่า เมื่อรู้ว่าจะต้องถูกย้าย พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. มีการประสาน พล.ต.ท.วีรยุทธ์ สิทธิมาลิก ผบช.ภ.9 ให้ปล่อยตัวมาลอยๆ เสร็จแล้วก็ปล่อยข่าวว่าเอามาอยู่ บช.ก. เพื่อให้ดูดี โยนหินดูท่าที แต่ผู้ใหญ่หลายคนติดต่อมาบอกว่าโดนแน่ เพราะ ผบ.ตร.ให้ ผบช.กมค.(พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์) ทำหนังสือขอตัวมา
“คนรักผมมีเยอะ ตำรวจดีดีรักผมเยอะ ตำรวจชั่วๆ เกลียดผม ก็ไม่เป็นไร ตำรวจหลายคนส่งข่าวให้ไปวิ่งเต้น ผมบอกเลยไม่วิ่งเพราะไม่อยากเป็นขี้ข้า ไม่อยากมีบุญคุณ เพราะเมื่อมีแล้วต้องไปทดแทน จะเป็นอย่างไรช่างมัน แน่จริงก็แต่งตั้งมั่วๆ มา รัฐบาลสะเทือน”
พล.ต.ต.วิสุทธิ์ ระบุด้วยว่า ตอนแรกคิดว่าคงไม่เป็นไร เพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธาน ก.ตร.เอง เป็นคนตรง เป็นจอมหลักการ คงไม่ถูกย้าย รวมทั้งผบ.ตร.ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ตนเคยออกรายการโทรทัศน์ปกป้อง แต่คิดผิด
ก่อนหน้านี้เคยบอก ผบ.ตร.ว่า ที่นักการเมืองแต่งตั้งให้เป็น ผบ.ตร.นั้น ถือเป็นหน้าที่ของนักการเมือง ไม่ต้องไปตอบแทน เพราะเป็น ผบ.ตร.ได้รับโปรดเกล้าฯจากพระเจ้าอยู่หัว ให้ตอบแทนประชาชน แผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดิน เตือนแบบนี้ไปแล้ว
“ตอนนี้นักการเมืองล้วงลูกทุกอย่างขนาดผู้อำนวยการโรงเรียนยังล้วงลูก”
ในครั้งนี้การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจที่กำหนดตามกฎก.ตร.นั้น 33% ต้องให้คนอาวุโสเลื่อนขึ้น ให้ไปไล่ดูเลยกลุ่ม 33% ที่ไม่มีเส้นไปอยู่ในกรุ ยกตัวอย่าง พ.ต.อ.ศรายุทธ พูลธัญญะ รอง ผบก.ปราบปรามการค้ามนุษย์ เคยอยู่ทำงานใน บช.ก. จบนักเรียนนายร้อยตำรวจ จบปริญญาตรีและโท ด้านนิติศาสตร์ จบเนติบัณฑิต ได้แต่งตั้งขึ้นเอาไปเป็นตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) เหมือนเข้ากรุ
“อย่างนี้เห็นว่าไม่ได้เอาคนที่ดี มีความรู้มาทำงานที่เหมาะสม เท่านั้นไม่พอบางคนคิดว่า ลูกพี่นายกฯเป็นคนดีธรรมะธัมโม ภาพเดินไปสวัสดี ไม่ใช่เลย อาศรมของท่านตั้งอยู่ใน บช.ภ.9 ซึ่งผู้บังคับการที่ไปเฝ้าบ้าน ไปเฝ้าอาศรมลูกพี่นายกฯคนนี้ เพิ่งครบ (หลักเกณฑ์แต่งตั้งเลื่อนขึ้น) 3 ปี ได้เป็นรอง ผบช.ภ.9 เท่านั้นไม่พอ ยังไปเอารอง ผบก.คนหนึ่งขึ้นมาสืบทอด ดูแลอาศรมต่อ มาเป็น ผบก.จว.นั้น แล้วอย่างนี้เรียกว่าล้วงลูกหรือไม่”
และอีกรายหนึ่ง ผบก.ภ.จว.สตูล (พล.ต.ต.ธเนศ วารายานนท์) อายุ 59 ปีแล้ว มีผลงานมากที่สุด จับยาเสพติดมาตลอด แต่ว่าถูกลูกพี่นายกฯเอามาเป็น ผบก.ศูนย์ฝึกอบรม บช.ภ.1 เก็บกรุ
คำถามที่ว่าเพราะอะไรหรือ??? ก็เพราะนายกฯคาดการณ์ผิดมาหลายเรื่อง การคาดการณ์ของนายกฯที่เป็นผู้บริหารประเทศ มีวิชั่นวิสัยทัศน์แค่นี้หรือ การย้ายพล.ต.ต.วิสุทธิ์เข้ากรุ นายกฯคาดการณ์ผิดจริงๆ เพราะตนคือคนของประชาชนและแผ่นดินเป็นของจริง
การคาดการณ์ผิดต่อเนื่องเรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่าไม่มีวิสัยทัศน์
กรณี ผกก.สมเพียร (พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา อดีต ผกก.สภ.บันนังสตา จ.ยะลา) ที่มาร้องขอชีวิตต่อนายกฯ ก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือ ปล่อยให้ไปทำงาน
“ผมว่าวิญญาณของ พล.ต.อ.สมเพียร ยังวนเวียน เพราะรอนายกฯตามไปขอโทษ ถามจริงๆ ใครก็ทราบว่าท่านนายกฯทำได้ทั้งนั้น ตอนที่มาร้องขอถ้านายกฯสนใจสั่ง ผบ.ตร.ออกคำสั่งมาช่วยราชการที่ไหน ไกลพื้นที่ก็ได้”
ดังนั้นจึงขอถามว่านายกฯ ผบ.ตร.และ ก.ตร.ทั้งคณะน้อมนำกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติหรือ ไม่ พระองค์ท่านมีกระแสรับสั่งว่าให้สนับสนุนคนดีมีอำนาจมาปกครองบ้านเมือง สกัดกั้นคนไม่ดีอย่าให้มีอำนาจปกครองบ้านเมือง แต่นี่มาสกัดผมไม่ให้มีอำนาจไปดูแลทุกข์สุขของประชาชน อยากถามนายกฯ ผบ.ตร.และ ก.ตร.ทั้งหมดว่าจะไปตอบพระองค์ท่านว่าเช่นไร
พล.ต.ต.วิสุทธิ์กล่าวว่า กล้าเดิมพันให้ไปทำโพลในพื้นที่ 4 จังหวัดที่ดูแล เอาเฉพาะ จ.สงขลา ไปถามเลยว่า พล.ต.ต.วิสุทธิ์เป็นตำรวจดีสมควร อยู่หรือไม่ หรือว่าเป็นคนไม่ดี ไม่สมควรอยู่ ถ้า 70% บอกว่าเป็นตำรวจดี สมควรอยู่จะว่าอย่างไร แต่ถ้าต่ำกว่านั้น จะลาออกจะไปกระโดดน้ำที่สะพานพระนั่งเกล้า แต่ถ้าคนสงขลาชอบตนสมควรอยู่ในพื้นที่เกิน 70% ทั้งนายกฯ และ ผบ.ตร.จะต้องมากราบตักตนงามๆ มาขอโทษแล้วบอกว่าย้ายผิดไป
ร้อนฉ่าถึงขนาดกล้าประกาศว่า
“ต่อไปนี้ผมจะมาแนวใหม่เมื่ออยู่ในกรุ จะดูแลงบฯลับของ ตร. การสั่งซื้อสั่งจ้างของตร. ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎกติกา และที่พูดวันนี้ใครอย่ามาสวน หากจะตอบโต้ต้องดูตัวเองก่อนว่าขาวบริสุทธิ์หรือไม่ และจะเอาลูกน้องไปถ่ายภาพหน้าบ้านว่า รับอะไรใครเท่าไหร่ เกิน 3,000 บาทหรือไม่ นี่คือ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ ที่ต่อไปจะตรวจสอบการทำงานของ ตร.และรัฐบาล มั่วๆ แล้วตายแน่ ต่อไปข้าราชการไทยคนใดมีข้อมูลอะไรส่งมาให้ผม ติดต่อที่โทร.08-1834-6699 จะสืบต่อและจะจัดการฟ้องร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ (ป.ป.ช.)”
จริงๆแล้วพล.ต.ต.วิสุทธิ์ อยากให้ข้อมูลกระจ่างกว่านี้ แต่ขี้เกียจไปประกันตัว ฉะนั้นอย่ามาฟ้องหมิ่นประมาท และอย่ามาตั้งกรรมการฯ จะทำตนให้ดูตัวเองก่อน ไม่เช่นนั้นจะรื้อประวัติตั้งแต่เกิดตั้งแต่รับราชการมาเลย หลังจากนี้จะไม่ฟ้องร้องต่อศาลแต่ถือว่าได้ฟ้องร้องประชาชนแล้ว โดยไม่หวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการแต่งตั้งครั้งนี้
“บอร์ดกลั่นกรองทำอะไรไม่ได้เลย ทุกรายชื่อ ตร.ส่งมาหมดแล้ว มีบัญชีมาแล้ว ออกความเห็นไม่ได้เป็นแค่พิธีการเท่านั้น ถ้าคิดอะไรมากหัวหน้าหน่วยไปด้วย แต่งตั้งระดับ พ.ต.ต.-พ.ต.อ.ที่ผ่านมา ก็มีแต่ตั๋วส่งมาจน ผบช.ภ.9 บอกว่า ไม่อยากกลั่นกรองเลยตั๋วทั้งนั้น”
ส่วนเรื่องที่ว่าเป็นเพราะเสียผลประโยชน์หรือไม่จึงโวยวาย ยืนยันได้ว่าไม่มีประโยชน์อะไร แค่อยากบอกว่านักการเมืองรังแกข้าราชการ ต่อไปคนดีหมดขวัญกำลังใจทำงาน ผลตกกับประชาชน
ต่อไปนักการเมืองยึดผู้ว่าราชการจังหวัด ยึด ผบก. ยึด ผกก.ได้ การเลือกตั้งก็สบายได้เปรียบคู่แข่งการเลือกตั้ง ซื้อเสียงก็ไม่มีใครจับ จับแต่ฝ่ายตรงข้าม
งามไส้ไปตามๆกัน
แน่นอนอาจจะมีการแก้เกี้ยวทำนองว่า นี่คือลีลาของ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร ที่มักจะใช้สไตล์ดุเด็ดเผ็ดมันมาตลอด
แต่หากมองให้ลึกในคราวนี้ นี่คือการออกมาชนกับนักการเมือง นี่คือการออกมาชนกับผู้มีตำแหน่งหน้าที่หัวโขนทางการเมืองตรงๆ ซึ่งถามว่า เสี่ยงแค่ไหนกับอนาคตการงานในการรับราชการ หากนักการเมืองเหล่านี้ยังสามารถที่จะอยู่ได้ เพราะลูกพี่ได้รับ “ตั๋วพิเศษ”ให้อยู่ต่อไปอีกระยะ
บรรดาคนรอบข้างนายอภิสิทธิ์ที่ตอนนี้หน้าแดงก่ำ หูร้อนฉ่า คงไม่มีทางที่จะให้อภัยกับถ้อยคำกร้าวๆ แฉแหลกของ พล.ต.ต.วิสุทธิ์แน่
ดังนั้นมองกันให้ลึกๆ คนที่ยังมีอายุราชการ แต่กล้าออกมาแฉเหมือนคนที่ใกล้เกษียณเร็วๆนี้ จึงไม่ต้องเกรงใจหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ อีกต่อไปแล้ว
น่าจะสะท้อนชัดเจนว่าข้อมูลที่ว่ามีนักการเมืองมาล้วงโผ มีธุรกิจมืดของนักการเมืองในพื้นที่ จะต้องเป็นเรื่องจริงอย่างแน่นอน
และถ้าข้อมูลไม่สร้างผลกระทบ ไม่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับธุรกิจการเมืองจริงๆ คงไม่เกิดภาพจับมือกันออกมากระหน่ำใส่ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ เช่นนี้ โดยเฉพาะการที่ใช้คารมเสียดสีไปถึงเรื่องบางเรื่องที่เป็นเรื่องซึ่งไม่ได้ เป็นประโยชน์ต่อสังคมใดๆเลยนั้น
สะท้อนภาพชัดว่าสไตล์เช่นนี้ของนักการเมือง สังคมไทยควรที่จะยอมรับหรือไม่???
ถ้ามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมคงไม่มีใครว่า
ตรงนี้แหละที่เป็นประเด็นน่าคิดว่า จริงๆแล้ว ฝ่ายใดกันแน่ที่เป็นฝ่ายสูญเสียผลประโยชน์
ยิ่งหากดูความวุ่นวายเกี่ยวกับโผตำรวจในยุคนี้ จะเห็นว่ามีมาตลอด และมีตัวละครทางการเมืองที่เกี่ยวข้องซ้ำๆอยู่ตลอดเช่นกัน
ตอนที่เกิดเหตุกรณีพล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา อดีต ผกก.สภ.บันนังสตา จ.ยะลา หรือ “จ่าเพียรขาเหล็ก” คิดว่านักการเมืองที่เป็นต้นเหตุความวุ่นวายของโผตำรวจ จะรู้สึกละอายต่อบาปกรรมบ้าง จะเพลาๆมือลงบ้าง กลับกลายเป็นไม่ใช่เลย
เรื่องของพล.ต.อ.สมเพียรยังไม่จางไปจากความทรงจำของสังคม ก็มามีเรื่องของ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ขึ้นมาอีกแล้ว
แถมตัวการล้วงโผ และสั่งโยก พล.ต.ต.วิสุทธิ์ ก็ดูจะเป็นคนๆ เดียวกันกับที่เคยใช้บารมีกีดกัน พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา นั่นเอง... อะไรจะอย่างหนาปานนี้
แม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะออกมาแก้เกี้ยวในเรื่องนี้ว่า “ไม่ทราบ การเมืองที่ไหน”
ถ้า พล.ต.ต.วิสุทธิ์ ระบุว่าเป็นนักการเมืองภาคใต้ ก็ขอให้เอาข้อเท็จจริงมา... โดยลืมไปว่า จนป่านนี้กรณีย้ายสลับ พล.ต.อ.สมเพียร ซึ่งอุตส่าห์มาขอชีวิตกับนายอภิสิทธิ์โดยตรงนั้น ยังไม่มีความกระจ่างออกมาให้สังคมได้รับรู้ความจริงเลยว่า เป้นฝีมือใคร
แล้วแบบนี้ใครยังจะเชื่อมั่นในนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”ได้อยู่อีก
เพราะต้องไม่ลืมว่า ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งในรัฐบาลปัจจุบันนี้เต็มไปด้วยเสียงครหาในเรื่อง 2 มาตรฐานจนอื้ออึงไปหมดนั้น แทนที่รัฐบาลจะพยายามทำให้เห็นว่าระบบยุติธรรมยังสามารถพึ่งพาได้ ยังสามารถเชื่อมั่นได้
กลับปล่อยให้เกิดเหตุทั่วไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในฝ่ายตุลาการ ในฝ่ายอัยการ และในฝ่ายตำรวจ
ในสายธารระบบยุติธรรมนั้น ตำรวจถือเป็นต้นธารของระบบยุติธรรม ในฐานะของพนักงานสอบสวน จากนั้นจึงไปสู่ระบบอัยการซึ่งเป้นระบบยุติธรรมในส่วนกลาง สุดท้ายปลายทางกระบวนการยุติธรรมก็จะเป็นชั้นศาล
แต่เมื่อระบบตำรวจเจอความอยุติธรรมเสียเอง เจอการล้วงลูกจัดโผโดยนักการเมือง แล้วแบบนี้ประชาชนจะหวังพึ่งกระบวนการยุติธรรมที่บริสุทธิ์ได้อย่างไร???
ลำพังแค่ในสังคม หากชุมชนใด ตำรวจรู้เห็นเป็นใจกับนักเลง กับผู้มีอิทธิพล ชาวบ้านก็ซวยสาหัสแล้ว
แต่ถ้าประเทศใด ตำรวจกลายเป็นเครื่องมือให้นักการเมือง ประเทศนั้นก็พัง
ดังนั้นบางกอก ทูเดย์ มองว่าการต่อสู้ของ พล.ต.ต.วิสิทธิ์ วานิชบุตร ในครั้งนี้ ไม่ควรจะมองว่าเป็นการต่อสู้เพื่อตนเอง แต่สังคมจะต้องมองว่านี่คือการต่อสู้เพื่อสังคม เป็นการทำเพื่อประชาชนทั้งประเทศจะได้ต้นธารแห่งระบบยุติธรรม ที่มีความยุติธรรมจริงๆ ไม่ถูกกดปุ่มโดยนักการเมือง
ขณะเดียวกันแม้แต่ตำรวจทั้งประเทศ ที่เอือมระอากับพฤติกรรมนักการเมืองบางคนบางกลุ่มที่ล้วงลูกโผตำรวจจนล่ำซำ ก็ควรที่จะช่วยกันทวงคืนศักดิ์ศรีของตำรวจทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่นเดียวกับที่ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ทำ หรืออย่างน้อยก็ควรจะสนับสนุนข้อมูลของ พล.ต.ต.ตรีวิสุทธิ์
อยากรู้เหมือนกันว่า ที่นายอภิสิทธิ์ บอกว่าหากมีข้อมูลว่านักการเมืองทำไม่ดีก็เอามา โดยเฉพาะนักการเมืองภาคใต้นั้น หากตำรวจทั้งประเทศช่วยกันขุดคุ้ยข้อมูลออกมาตีแผ่ ดูซิว่านายอภิสิทธิ์จะทำหน้าอย่างไร
จะกล้าฟันนักการเมืองเหล่านั้นจริงๆหรือไม่?
และพรรคประชาธิปัตย์จะสะดุ้งโหยงกันสักขนาดไหน!!!

30 ต.ค. 2553

รอวันล้างตา

โดย สลับฉาก

ความโหดเหี้ยม การใส่ร้ายป้ายสี ความอยุติธรรม    ไปกระทำกับใครก็ไม่มีใครชอบ   แม้ตัวเราถ้าได้รับการกระทำแบบนั้นก็ไม่ชอบเช่นกัน    ยิ่งถ้าคนที่ถูกกระทำไม่มีทางสู้  ความอึดอัดเป็นความกดดันทำให้เกิดเพลิงแค้นอยู่ในใจ   จะฝังใจผูกพยาบาดไปจนตาย   รอจังหวะและโอกาศที่จะเอาคืนนี่เป็นธรรมชาติ

การปรองดองของรัฐบาลจะแก้ได้อย่างไร   ถ้าไม่กลับคืนความยุติธรรม และชดเชยความเสียหายให้กับเขาเหล่านั้น   รัฐบาลไม่เคยใส่ใจกับผู้เสียชีวิตร่วมร้อยและบาดเจ็บเกินสองพัน   ยิ่งการทำงานของรัฐบาลก็ไร้ประสิทธิภาพไม่เข้าตาประชาชน   เท่ากับไปซ้ำเติมทำให้การปรองดองไม่มีทางเป็นไปได้   รัฐบาลน่าจะรู้ดี   แกนนำรัฐบาลถึงไม่เป็นผู้ปรองดองเอง   ให้คนนั้นคนนี้ไปทำแทน   บอกตามตรงว่าเสียดายเงินภาษีอากรของประชาชน   ที่ถูกจัดเป็นงบประมาณบางส่วนให้กับเรื่องนี้

กรรมนะมีจริง   คนชั่วไม่ว่าจะเป็นผู้สั่งการ ผู้กระทำ และผู้สนับสนุน    จะต้องได้รับกรรมชั่วไม่ช้าก็เร็ว   ไม่ว่ากรรมชั่วนั้นจะมาในรูปกฎหมายหรือผลแห่งกรรมในอนาคต   ถึงเวลานั้นคุณจะรู้ว่าความทุกข์นั้นเป็นอย่างไร   แต่ผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าคนทำชั่วนั้นเขาจะรู้ตัวหรือเปล่า   สำหรับคนประเภทนี้น่าอนาถใจจริงๆครับพ่อแม่พี่น้อง

20 พ.ค. 2553

จับประชาธิปไตยถ่วงน้ำ




โดย...สลับฉาก

20 พ.ค.53


ปฏิบัติการจับประชาธิปไตยถ่วงน้ำภายใต้เพลิงแค้นของมวลประชา    เริ่ม..ตั้งแต่ตี 4   จนสลายการชุมนุมได้เรียบร้อยในเวลาบ่าย 2 โมง     เป็นความภาคภูมิใจอย่างมากของรัฐบาลชุดนี้ในชัยชนะผู้ก่อการร้ายมือเปล่า    
สิ่งที่เกิดขึ้นทันที หลังชัยชนะของรัฐบาลก็คือ  จลาจลที่เกิดขึ้นทั่วกรุงเทพ และลุกลามไปสู่ต่างจังหวัด    เมื่อมวลชนคนเสื้อแดงที่โกรธแค้นระเบิดอารมณ์ออกมาเป็นความรุนแรง    ราวกับคลื่นยักษ์ที่เกิดขึ้นหลังอาฟเตอร์ช็อก     และที่ไม่ไช่คนเสื้อแดงถือโอกาสปล้นสะดม 
    
เพียงหนึ่งวันมีการวางเพลิง ทั่วกรุงเทพ 30 กว่าจุด   เช่น   1.  สยามพารากอน    2.สยามสแควร์   3.ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิล์ด    4. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย     5.  อาคารแห่งหนึ่งย่านบ่อนไก่    6-7. ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงไทย สาขาอโศก   8-9.  สำนักงาน ป.ป.ส.และร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น        10-11.ธนาคารกรุงเทพและสาขาธนาคารออมสิน สาขาดินแดง     12. อาคารมาลีนนท์และสถานีโทรทัศน์ช่อง 3    13-14.ธนาคารกรุงเทพ และห้างโลตัส พระรามสี่     15. การไฟฟ้านครหลวง สาขาคลองเตย      16.ธนาคารกรุงเทพ สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ   17.ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานเหลือง    18.ห้างเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ    19. ธนาคารกสิกรไทย พระราม 4   เป็นต้น

ไฟแห่งความแค้นได้ปะทุไปในหลายจังหวัด   มีการเผาศาลากลางจังหวัดใน 3-4 จังหวัดภาคอีสาน เช่น อุดรธานี อุบลราชธานี และขอนแก่น  เป็นต้น
เหตุรุนแรงในขอนแก่น   รุนแรงขนาดบุกจะเผาบ้านนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พรรคภูมิใจไทย  และมีการบุกเข้าไปจะวางเพลิงสถานีไทรทัศน์เอ็นบีที
"กรณ์ จาติกวณิช" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประเมินความเสียหายขั้นต่ำ 50,000 ล้านบาท  แต่นี่เป็นเพียงความเสียหาย"วันแรก"เท่านั้น

"ข่าวร้าย"ปลิวว่อนไปทั่วโลก   บรรยากาศในกรุงเทพ เสมือนฉาก " เสียกรุง"  ควันไฟทมึนดำไปทั่วท้องฟ้า     สื่อต่างชาติ  วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในวันล้อมปราบว่า วันที่น่ากลัวที่สุด ยังมาไม่ถึง !!!!

ปฏิบัติการเพียงวันเดียวมีคนตายเพิ่ม 14 ศพ รวมกับ 7 วันที่แล้วก็เท่ากับ 50 ศพ ไม่นับบาดเจ็บอีก เกือบ 400 คน และตัวเลขความสูญเสียกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างน่าตกใจ
 
แล้วที่สุด เมื่อรัฐบาลควบคุมสถานการณ์เอาไว้ไม่อยู่  จึงได้มีการประกาศเคอร์ฟิว ห้ามออกนอกเคหะสถานในกรุงเทพฯ และอีก 23 จังหวัดในภาคกลาง เหนือ และอีสาน  ที่มีประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้แล้ว ตั้งแต่เวลา 20.00-06.00 น.   ผู้คนต่างสับสนโกลาหลในการกลับบ้านเพราะถนนบางเส้นเกือบ2 ทุ่มรถยังติดอยู่     วันรุ่งขึ้น(20พ.ค.53)รัฐบาลก็ประกาศเคอร์ฟิวต่ออีก 3 วันแต่เปลี่ยนเวลาเป็น 21.00-05.00 น.   สถานการณ์ยังไม่รู้จะหยุดอยู่แค่นี้หรือจะกระจายต่อเหมือน"ไฟลามทุ่ง"

สงครามยังไม่จบ   สุรชัย และจักรภพ กำลังจับมือกับแกนนำอื่นๆ    เพื่อสางเจตนารมณ์ประชาธิปไตยที่แท้จริงต่อไป    และกล่าวว่าหมดยุคที่จะใช้การปฏิรูป แต่ต้องใช้การปฏิว้ติประชาธิปไตยแทน    และจะรับไม้เป็นแกนนำรุ่นต่อไป

18 พ.ค. 2553

สดุดีวีรชนขุนพลเสธ.แดง


โดย...สลับฉาก

18 พ.ค.53

นับเป็นความสูญเสียบุคคลากรอันมีค่าอีกท่านหนึ่งของประเทศไทย เพราะความรู้ความสามารถกว่าจะสร้างขึ้นมาได้ในคนคนหนึ่งนั้นต้องใช้ ทรัพย์สินเวลาและสติปัญญา   ถ้ามาเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรจึงเป็นความสูญเสีย   โดยเฉพาะอย่างงยิ่งหากเป็นคนดีด้วยแล้วก็นับได้ว่าเป็นความสูญเสียของประเทศ ได้เลยทีเดียว

เสธ.แดง หรือพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล มีคุณสมบัติทั้งมีความรู้ความสามารถและเป็นคนดี   การสูญเสียท่านผู้นี้จึงถือว่าประเทศสูญเสียบุคคลากรอันมีค่าคนหนึ่ง   ขอให้คนเลวที่เป็นผู้ยิงและคนสั่งยิงได้รับผลกรรมที่ทำไว้โดยพลัน
ประวัติเสธ.แดง

พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล เป็นชาวอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เป็นบุตรชายคนสุดท้องของ ร.อ.สนิท สวัสดิผล และนางสอิ้ง สวัสดิผล จากจำนวนพี่น้อง 4 คนซึ่งเป็นหญิง 3 คนและชาย 1 คน
จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนศรีวิกรม์

การศึกษาด้านการทหาร จบโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 11, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 22 และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 63

ได้เรียนต่อปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาปี 2528 ปริญญาโท คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำเร็จการศึกษาปี 2539 ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม สำเร็จการศึกษาปี 2545 ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำเร็จการศึกษาปี 2547 และจบปริญญาเอก สาขาบริหารรัฐกิจ University of Northern Philippines สำเร็จการศึกษาปี 2551

การศึกษาเพิ่มเติม

1. หลักสูตรจู่โจม รุ่นที่ 36 ปี 2516
2. หลักสูตรกระโดดร่ม รุ่นที่ 84 ปี 2517
3. หลักสูตรสงครามนอกแบบ รุ่นที่ 8 ปี 2521
4. หลักสูตรคอมพิวเตอร์ รร.นายร้อย จปร. รุ่นที่ 1 ปี 2527
5. ครุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2528
( คำสั่ง ยก. ที่ 2158 ลง 31 ม.ค. 28 )
6. หลักสูตรโรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 63 ปี 2528
7. หลักสูตรข่าวลับ รุ่นที่ 26 ปี 2530
8. หลักสูตรภาษาอังกฤษ ยศ.ทบ. รุ่นที่ 2 ปี 2532
9. หลักสูตรภาษาอังกฤษ ยศ.ทบ. รุ่นที่ 3 ปี 2534
10. หลักสูตรคอมพิวเตอร์ สส.ทบ. รุ่นที่ 1 ปี 2535
11. ปริญญาโท คณะพัฒนาสังคม ( นิด้า ) รุ่นที่ 1 ปี 2539
( คำสั่ง ทบ. ที่ 797/2535 ลง 24 ส.ค. 35)
12. นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปี 2545
( คำสั่ง ทบ. ที่ 368/2543 ลง 10 ก.ค. 43)
13. เศรษฐศาสตรบัณฑิต (ภาคพิเศษ รุ่นที่ 3) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2547
( คำสั่ง กห. ที่ 0461/0400 ลง 21 ม.ค. 46 )
14. ดุษฎีบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์ (DPA) University of North Philippines ปี 2550

รับราชการ

พล.ต.ขัตติยะ เข้ารับราชการครั้งแรกในกองพันทหารราบที่ 4 ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี และเติบโตมาในสายทหารม้า เคยได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ เมื่อปี 2543 เคยเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าในช่วงปี 2529 เป็นนายทหารติดตามของ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และเคยเป็นนายทหารคนสนิทของนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

ตำแหน่งปกติ

1. ผบ.มว.ร้อย ม.ยานเกราะ ผส.5 ร.พัน4 ( ร.ต.-15 พ.ค.16 ) ( ผู้บังคับหมวดกองร้อยทหารม้ายานเกราะ กรมผสมที่ 5 กองพันทหารราบที่ 4 ค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี )
2. ผบ.มว.ลว.ม.พัน 3 รอ. ( ร.ท.-27 พ.ย.18) ( ผู้บังคับหมวดกองร้อยทหารม้าลาดตระเวน กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ฯ กรุงเทพฯ )
3. ฝอ.3 ร้อยฝึก ม.พัน 3 รอ. ( ร.อ.-1 ธ.ค.21) ( นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึกกองร้อยฝึก ) กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ฯ กรุงเทพฯ)
4. ผช.ฝอ.3 ม.พัน 3 ร.อ. ( ผู้ช่วยนายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก) กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ฯ กรุงเทพฯ)
5. ผบ. ร้อย ลว.ม.พัน 3 รอ. ( ผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวน กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ฯ กรุงเทพฯ)
6. ผบ.ร้อยฝึก ม.พัน 3 ร.อ. (พ.ต.-21 ธ.ค.25) (ผู้บังคับกองร้อยฝึก กองพันทหารม้าที่ 3 รักษาพระองค์ฯ กรุงเทพฯ)
7. ฝอ.3 ม.1 รอ. ( นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ฯ กรุงเทพฯ )
8. อจ.ส่วนวิชาการทหาร รร.จปร. (พ.ท. -12 ต.ค.29)
( อาจารย์ส่วนวิชาการทหารอ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก
9. นายทหารวิจัยและพัฒนาการรบ สบส.
( นายทหารวิจัยและพัฒนาการรบ สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง กรุงเทพฯ )
10. เสธ.ม.4 รอ.
( นายทหารฝ่ายเสนาธิการ กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ฯ จ.สระบุรี )
11. ผบ.พัน 30 พล.ร. 2 รอ.
( ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 30 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ฯ ค่ายพรหมโยธี จ.ปราจีนบุรี)
12. เสธ. จทบ.สบ. (พ.อ.-19 ธ.ค.33)
( นายทหารฝ่ายเสนาธิการจังหวัดทหารบกสระบุรี )
13. ประจำ ศม.
( ประจำศูนย์การทหารม้า จ.สระบุรี )
14. ทส.รมช.กห. (พ.อ.(พิเศษ) 1 ก.พ. 37)
( นายทหารคนสนิท รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม)
15. ประจำ บก.ทบ.
( ประจำกองบัญชาการกองทัพบก )
16. ผชก. บก. ทหารสูงสุด (พล.ต.-1 ต.ค.41 )
( ผู้ชำนาญการกองบัญชาการทหารสูงสุด )
17. ผทค.ทบ. ( ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก )
พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล สมรสกับ นาวาเอก (พิเศษ) หญิง จันทรา สวัสดิผล (เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็ง) มีบุตรสาวด้วยกันทั้งหมด 1 คน ชื่อ นางสาวขัตติยา สวัสดิผล (ชื่อเล่น: เดียร์) ปัจจุบันทำงานเป็นทนายความในสำนักกฎหมายเอกชน
พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล มีเว็บไซต์ของตนเอง ที่วิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์การเมืองในปัจจุบันอย่างดุเดือด โดยบุคคลที่ชื่นชอบจะเรียกชื่อ พล.ต.ขัตติยะ อย่างเคารพว่า "อาแดง"

บทบาททางการเมือง

ทางการเมืองในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 พล.ต.ขัตติยะ ก็ได้แสดงบทบาทของตนเองออกมา ในตอนแรกได้วิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลายต่อหลายครั้งเรื่องปัญหาการฆ่าตัดตอนในสงครามกวาล้างยาเสพติด ซึ่งทำให้เกิดปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการปล้นปืนขึ้น ซึ่งพล.ต.ขัตติยะเห็นว่าไม่ถูกต้อง ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อ พ.ศ. 2551 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เข้ายึดทำเนียบรัฐบาล พล.ต.ขัตติยะก็ได้ไปปรากฏตัว ณ ที่ชุมนุมด้วยโดยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่าเช้ามาสังเกตการณ์ แต่ต่อมาไม่นาน พล.ต.ขัตติยะก็ได้เปลี่ยนท่าทีใหม่โดยสิ้นเชิง ได้แสดงท่าทีและวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มพันธมิตรฯ ที่นำประเด็นเขาพระวิหารมาเป็นประเด็นทางการเมือง ทำให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศ ซึ่งกลุ่มพันธมิตรได้วิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกนิ่งเฉยในประเด็นเขาพระวิหาร โดยพล.ต.ขัตติยะ ในช่วงแรกได้ออกมาปกป้องทั้งในเรื่องประเด็นทุจริตรถเกราะยูเครน 8 ล้อ และประเด็นเรื่องเขาพระวิหาร ซึ่งพล.ต.ขัตติยะออกมาโต้แทนว่า พล.อ.อนุพงษ์ ท่านหน่อมแน้ม จึงโดนตั้งคณะกรรมการสอบวินัย ซึ่งผลการสอบไม่มีความผิดแต่ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ผู้บังคับบัญชา ในเหตุการณ์ยึดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง
พล.ต.ขัตติยะได้วิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ พล.อ.อนุพงษ์ ในฐานะ ศอฉ. อีกครั้งว่าปล่อยให้พันธมิตรยึดสนามบินไม่ยอมนำกำลังออกมาช่วยรัฐบาลตามที่ มีคำสั่งจาก นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในการปราบปรามกลุ่มพันธมิตร นอกจากนี้ยังนำผู้นำเหล่าทัพไปให้สัมภาษณ์ช่อง 3 ในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ บอกให้ นาย สมชาย วงษ์สวัสดิ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยหลังจากจุดๆนี้เป็นต้นไป พล.ต.ขัตติยะได้ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกลุ่มพันธมิตรและพล.อ.อนุพงษ์ จนกระทั่งถูกคำสั่งพักราชการในเดือนมกราคม 2553 ในข้อหาวิพากษ์วิจารณ์ผู้บังคับบัญชา ซึ่ง พล.ต.ขัตติยะ ไม่ยอมรับ โดยอ้างว่ากองทัพไม่มีอำนาจในการสั่งพักราชการตน เนื่องจากตนเป็นถึงนายทหารระดับนายพล
ต่อมา พล.ต.ขัตติยะก็ได้ประกาศตัวว่าเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ และตระเวนไปปราศรัยที่เวทีคนเสื้อแดงทั่วประเทศ และประกาศตัวว่าถ้าสามเกลอพลาดจะขึ้นเป็นแกนนำแทนด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ต่อมา ได้ทำให้นายทหารระดับสูงในหลายส่วนของกองทัพบกได้ออกมาวิจารณ์การกระทำของ พล.ต.ขัตติยะ ถึงความเหมาะสมรวมทั้งได้แสดงออกถึงการร่วมใจปกป้องศักดิ์ศรีของกองทัพด้วย
ในทางการเมือง พล.ต.ขัตติยะ ได้มีแนวคิดจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา ในชื่อ พรรคเสธ.แดง เพื่อลงเลือกตั้งในปลายปี 2550 โดยมีจุดมุ่งหมายคือ แยกอำนาจสอบสวนออกจากตำรวจและตั้งหน่วยงานอิสระขึ้นมาดูแลแทน โดยตำรวจมีหน้าที่จับกุมและส่งตัวมาให้หน่วยงานสอบสวน แต่ไม่ได้รับการรับรองให้จดทะเบียนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. โดยนางสดศรี สัตยะรรม ให้เหตุผลว่าเป็นชื่อบุคคลไม่สามารถนำมาตั้งชื่อพรรคได้ โดยส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ โดยเรื่องชื่อพรรคนี้เรื่องค้างอยู่ในศาลรัฐธรรมนูญ 2 ปีเต็มไม่มีความคืบหน้า เพราะมีเรื่องเร่งด่วนรอให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอีกหลายเรื่อง จึงขอถอนเรื่องออกมาและมาจัดตั้งใหม่ ในนามว่า พรรคขัตติยะธรรม ซึ่งแปลว่า ธรรมของพระราชา

ราชการสนาม

1. หน.ชปศ.512 ศปศ.51
( หัวหน้าชุดปฎิบัติการพิเศษที่ 512 ศูนย์ปฎิบัติการพิเศษที่ 51 กองทัพภาคที่ 4 ค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.
ปัตตานี)
คำสั่ง ทบ. ที่ 8/5218 ลง 28 มี.ค.18
2. ผบ.มว.ม.พัน 111 พล.ม.สน.
( ผู้บังคับหมวดทหารม้า กองพันทหารม้าที่ 111 กองพลทหารม้าส่วนหน้า กองทัพภาคที่ 3 จ.น่าน)
คำสั่ง ทภ. 3 สน. ที่ 253/2519 ลง 24 ก.ย.19
3. ผบ. ร้อย ลว.พัน ม. ฉก. พล.ม.2
( ผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวน กองพันทหารม้าเฉพาะกิจ กองพลทหารม้าที่ 2 กองทัพภาคที่ 1 จ.ปราจีนบุรี)
คำสั่ง ทบ. ที่ 466/2525 ลง 29 ก.ย.25
4. หน.ชปศ.นฉก.923 ศปก.ทบ.309
( หัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษ หน่วยเฉพาะกิจที่ 923 ศูนย์ปฎิบัติการกองทัพบก 309 จ.อุดรธานี)
คำสั่ง ทบ. ที่ 754/30 ลง 14 เม.ย. 31
5. จนท. ติดต่อ สง.ผอ.ศปส. 114 กอ.รมน.
( เจ้าหน้าที่ติดต่อ สำนักงานผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน 114 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน)
คำสั่ง กห. ที่ 0401/27653 ลง 28 พ.ย. 38
6. ชรก. สน. รอง ผอ.รมน.
( ช่วยราชการสำนักงานรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน)
คำสั่ง กห. ที่ 0401/1649 ลง 2 กค. 44
7. ชรก. ปษ.ทบ.
( ช่วยราชการคณะที่ปรึกษากองทัพบก)
คำสั่ง กห. ที่ 0401/3091 ลง 21 ตค. 45

ราชการพิเศษ ( การเมือง )

1. ช่วยราชการ สำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
( พล.ต. สมบัติ รอดโพธิ์ทอง รมช. กระทรวงกลาโหม )
คำสั่ง กห. ( เฉพาะ ) ที่ 77/2536 ลง 22 กค. 36
2. ช่วยราชการ สำนักงานนายกรัฐมนตรี
( พล. อ. อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี )
คำสั่ง นร. ที่ 0101/25138 ลง 27 ธค. 37
3. ช่วยราชการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
( ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฯ )
คำสั่ง กห. (เฉพาะ) ที่ 10/41 ลง 27 ม.ค. 41
4. ช่วยราชการสำนักงานนายกรัฐมนตรี
( ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี )
คำสั่ง กห. ที่ 83/42 ลง 28 มิ.ย. 42
5. นักวิชาการ คณะกรรมาธิการ
ติดตามผลการปฎิบัติตามมติของสภาผู้แทนราษฎร
คำสั่ง กห. ที่ 0401/94 ลง 5 มี.ค. 41
6. กรรมการอำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์
กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
คำสั่งกระทรวงแรงงานฯ ที่ 83/2541 ลง 30 เม.ย. 41
7. กรรมการบริหาร สหพันธ์มวยไทยสมัครเล่นนานาชาติ
( พล.อ. ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ประธานสหพันธ์มวยไทยฯ )
คำสั่งสหพันธ์ฯ ที่ 001/2541 ลง 16 มิ.ย. 41
8. ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร
คำสั่ง กห. ที่ 0401/2617 ลง ก.ย. 44
9. ทปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร
10. ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการศาสนา สภาผู้แทนราษฎร
11. ที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ( ชั้นสายสะพาย )

1. ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนที่ 25 ลง 25 ธ.ค. 39
2. ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
ลง 5 ธ.ค. 42

เหตุการณ์ลอบสังหาร


พล.ต.ขัตติยะได้ถูกลอบยิงระหว่างการให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวต่าง ประเทศ ในฐานะหัวหน้าการ์ดของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่สวนลุมพินี บริเวณแยกศาลาแดง เมื่อเวลาประมาณ 19.30 น. ของวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกกระสุนเข้าที่ศีรษะด้านขวาทะลุท้ายทอย กลุ่มคนเสื้อแดงได้นำตัวส่งโรงพยาบาลหัวเฉียว และได้ย้ายไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลใน กลางดึกของวันเดียวกัน โดยทางแพทย์ผู้ให้การรักษาได้ให้เหตุผลว่าทางวชิรพยาบาลมีอุปกรณ์ทางการ แพทย์ที่เพียบพร้อมกว่า อาการของ พล.ต. ขัตติยะ อยู่ในสภาพทรงตัวมาตลอดจนกระทั่ง พล.ต. ขัตติยะ เสียชีวิตด้วยภาวะไตวายเฉียบพลันเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 09.20 น.

ขอดวงวิญญาณของท่านจงจุติ ณ สรวงสวรรค์ ภาระกิจที่คั่งค้างคงเป็นหน้าที่ของเหล่านักรบไร้สังกัดจะดำเนินต่อไป